วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

26 มิถุนายน วันสุนทรภู่


ประวัติ สุนทรภู่

สุนทรภู่ หรือ พระสุนทรโวหาร (ภู่) มีนามเดิมว่า ภู่ เป็นบุตรขุนศรีสังหาร (พลับ) และแม่ช้อย เกิดในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันจันทร์ เดือนแปด ขึ้นหนึ่งค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๔๘ เวลาสองโมงเช้า ตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๙ ที่บ้านใกล้กำแพงวังหลัง คลองบางกอกน้อย สุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าจากกันฝ่ายบิดากลับไปบวชที่บ้านกร่ำ เมืองแกลง จ.ระยอง ส่วนมารดา คงเป็นนางนมพระธิดา ในกรมพระราชวังหลัง (กล่าวกันว่าพระองค์เจ้าจงกล หรือเจ้าครอกทองอยู่) ได้แต่งงาน มีสามีใหม่และมีบุตรกับสามีใหม่ ๒ คนเป็นหญิง ชื่อฉิมและนิ่ม ตัวสุนทรภู่เองได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลังตั้งแต่ยังเด็ก สุนทรภู่เป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน สันทัดทั้งสักวาและเพลงยาว เมื่อรุ่นหนุ่มเกิดรักใคร่ชอบพอกับนาง ข้าหลวงในวังหลัง ชื่อแม่จัน ครั้นความทราบถึงกรมพระราชวังหลัง พระองค์ก็กริ้ว รับสั่งให้นำสุนทรภู่ และจันไปจองจำทันที แต่ทั้งสองถูกจองจำได้ไม่นาน เมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคตในปี

พ.ศ. ๒๓๔๙ ทั้งสองก็พ้นโทษออกมา เพราะเป็นประเพณีแต่โบราณที่จะมีการปล่อยนักโทษ เพื่ออุทิศ ส่วนพระ ราชกุศลแด่ พระมหากษัตริย์หรือพระราชวงศ์ชั้นสูง เมื่อเสด็จสวรรคตหรือทิวงคตแล้ว แม้จะพ้นโทษ สุนทรภ ู่และจันก็ยังมิอาจสมหวังในรัก สุนทรภู่ถูกใช้ไปชลบุรี สุนทรภู่ได้เดินทางเลยไปถึงบ้านกร่ำ เมืองแกลง จังหวัด ระยอง เพื่อไปพบบิดาที่จากกันกว่า ๒๐ ปี สุนทรภู่เกิดล้มเจ็บหนักเกือบถึงชีวิต กว่าจะกลับมากรุงเทพฯ ก็ล่วง ถึง เดือน ๙ ปี พ.ศ.๒๓๔๙ หลังจากกลับจากเมืองแกลง สุนทรภู่ได้เป็นมหาดเล็กของพระองค์เจ้าปฐมวงศ ์ พระโอรสองค์เล็กของกรมพระราชวังหลัง ซึ่งทรงผนวชอยู่ที่วัดระฆัง ในช่วงนี้ สุนทรภู่ก็สมหวังในรัก ได้แม่จันเป็นภรรยาสุนทรภู่คงเป็นคนเจ้าชู้ แต่งงานได้ไม่นานก็เกิดระหองระแหงกับแม่จัน ยังไม่ทันคืนดี สุนทรภู่ก็ต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการพระพุทธบาท จ.สระบุรี ในวันมาฆบูชา สุนทรภ ู่ได้แต่งนิราศ เรื่องที่สองขึ้น คือ นิราศพระบาท สุนทรภู่ตามเสด็จกลับถึงกรุงเทพฯ ในเดือน ๓ ปี

พ.ศ.๒๓๕๐ สุนทรภู่มีบุตรกับแม่จัน ๑ คน ชื่อหนูพัด แต่ชีวิตครอบครัวก็ยังไม่ราบรื่นนักในที่สุดแม่จันก็ร้างลาไป พระองค์เจ้าจงกล (เจ้าครอกทองอยู่) ได้รับอุปการะหนูพัดไว ้ ชีวิตของท่านสุนทรภู่ช่วงนี้คงโศกเศร้ามิใช่น้อย ประวัติชีวิตของสุนทรภู่ในช่วงปี

พ.ศ.๒๓๕๐ - ๒๓๕๙ ก่อนเข้ารับราชการ ไม่ชัดแจ้ง แต่เชื่อว่าท่าน หนีความเศร้าออกไปเพชรบุรี ทำไร่ ทำนา อยู่กับหม่อมบุญนาค ในพระราชวังหลัง นักเลงกลอนอย่างท่านสุนทรภู่ ทำไร่ทำนาอยู่นานก็ชักเบื่อ ด้วยเลือดนัก กลอนทำให้ท่านกลับมากรุงเทพฯ หากินทางรับจ้างแต่งเพลงยาว บอกบทสักวา จนถึงบอก บทละคร นอก บางทีนิทานเรื่องแรกของ ท่านคงจะแต่งขึ้นในช่วงนี้ การที่เกิดมีนิทานเรื่องใหม่ๆ ทำให้เป็นที่สนใจมาก เพราะ สมัยนั้นมีแต่กลอนนิทานจักรๆ วงศ์ๆ ไม่กี่เรื่อง ซ้ำไปซ้ำมาจนคนอ่าน คนดูรู้เรื่องตลอดหมดแล้ว นิทานของ ท่านทำให้นายบุญยัง เจ้าของคณะละครนอกชื่อดัง ในสมัยนั้นมาติดต่อว่าจ้างสุนทรภู่ ท่านจึงได้ร่วมคณะละคร เป็นทั้งคนแต่งบทและบอกบทเดินทางเร่ร่อนไปกับคณะละครจนทั่ว รับราชการครั้งแรก ก็สมัยพระ พุทธเลิศ หล้านนภาลัย ที่ได้อาจจะมาจากมูลเหตูที่รัชกาลที่ 2 ชอบบทกลอนเหมือนกัน แต่หลังจากรัชกาลที่ 2 เสด็จ สวรรคต นอกจาก แผ่นดินและผืนฟ้าจะร่ำไห้ ไพร่ธรรมดาคนหนึ่งที่มีโอกาสสูงสุด ในชีวิตได้เป็นถึง กวีที่ ปรึกษา ในราชสำนัก ก็หมดวาสนาไปด้วย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ไว้ถึง เหตุที่สุนทรภู่ ไม่กล้า รับราชการต่อใน แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ดังนี้ "เล่ากันว่า เมื่อทรงพระราชนิพนธ์ บทละคร เรื่องอิเหนา ทรงแต่งตอนนางบุษบาเล่นธาร เมื่อท้าว ดาหาไปใช้บน พระราชทานให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทรงแต่ง "เมื่อทรงแต่งแล้ว ถึงวันจะอ่านถวายตัว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีรับสั่งวานสุนทรภู่ ตรวจดูเสียก่อน สุนทรภู่อ่านแล้วกราบทูลว่า เห็นดีอยู่แล้ว ครั้นเสด็จออก เมื่อโปรดให้อ่านต่อหน้ากวีที่ทรง ปรึกษาพร้อมกัน ถึงบทแห่งหนึ่งว่า " 'น้ำใสไหลเย็นแลเห็นตัว ปลาแหวกกอบัวอยู่ไหวไหว' "สุนทรภู่ติว่ายังไม่ดี ขอแก้เป็น " 'น้ำใสไหลเย็นเห็นตัวปลา ว่ายแหวกปทุมาอยู่ไหวไหว' "โปรดตามที่สุนทรภู่แก้ พอเสด็จขึ้นแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็กริ้ว ดำรัสว่า เมื่อ ขอให้ตรวจทำไมจึงไม่แก้ไข แกล้งนิ่งเอาไปไว้ติหักหน้ากลางคัน เป็นเรื่องที่ทรงขัดเคืองสุนทรภู่ครั้ง หนึ่ง "อีกครั้งหนึ่ง รับสั่งให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแต่งบทละครเรื่องสังข์ทอง ตอน ท้าว สามลจะให้ลูกสาวเลือกคู่ ทรงแต่งคำปรารภของท้าวสามลว่า " 'จำจะปลูกฝังเสียยังแล้ว ให้ลูกแก้ว สมมาด ปรารถนา' " ครั้นถึงเวลาอ่านถวาย สุนทรภู่ถามขึ้นว่า 'ลูกปรารถนาอะไร' พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้องแก้ว่า " 'จำจะปลูกฝังเสียยังแล้ว ให้ลูกแก้วมีคู่เสน่หา' "ทรงขัดเคืองสุนทรภู่ว่าแกล้งประมาทอีกครั้งหนึ่ง แต่นั้นก็ว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมึนตึงต่อสุนทรภู่มาจนตลอดรัชกาลที่ ๒ ... " จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ เพียงคิดได้ด้วยเฉพาะหน้าตรงนั้นก็ตาม สุนทรภู่ก็ได้ทำการไม่เป็นที่พอ พระราชหฤทัย ประกอบกับความอาลัยเสียใจหนักหนา ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สุนทรภู่ จึงลาออกจากราชการ และตั้งใจบวชเพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณ เมื่อกลับจากกรุงเก่า พระสุนทรภู่ได้ไปจำพรรษาอยู่ท ี่วัดอรุณ ราชวรารามหรือวัดแจ้ง

ปี พ.ศ.๒๓๗๒เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงฝากเจ้าฟ้ากลาง และเจ้าฟ้า ปิ๋ว พระโอรสองค์กลางและองค์น้อยให้เป็นศิษย์สุนทรภู่ การมีศิษย์ชั้นเจ้าฟ้าเช่นนี้จึงทำให้พระสุนทรภ ู่สุข สบาย ขึ้นพระสุนทรภู่อยู่วัดอรุณฯ ราว ๒ ปี จึงข้ามฟากมาจำพรรษาอยู่ท ี่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ เล่ากันถึงสาเหตุที่พระสุนทรภู่ย้ายวัดมา ก็เพราะสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงชัก ชวนให้มาอยู่ด้วยกัน สมเด็จฯ ทรงเป็นกวีองค์สำคัญของกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์หนึ่ง เชื่อว่าคงจะทรงคุ้นเคย กับสุนทรภู่ในฐานะที่เป็นกวีด้วยกัน โดยเฉพาะสมัยที่สุนทรภู่เป็นขุนสุนทรโวหารในรัชกาลที่ ๒ ชีพจรลงเท้า สุนทรภู่อีกครั้งเมื่อท่านเกิดไปสนใจเรื่องเล่นแร่แปรธาตุและยาอายุวัฒนะ ถึงแก่อุตสาหะไปค้นหา ทำให้เกิดนิราศ วัดเจ้าฟ้า และนิราศสุพรรณปี

พ.ศ.๒๓๘๓ สุนทรภู่มาจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม ท่านอยู่ที่นี่ได้ ๓ พรรษา คืนหนึ่งเกิดฝันร้าย ว่าชะตาขาด จะถึงแก่ชีวิต จึงได้แต่งเรื่องรำพันพิลาป ซึ่งทำให้ทราบเรื่องราวในชีวิตของท่านอีกเป็นอันมาก จากนั้นจึงลาสิกขาบทเมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๕ เพื่อเตรียมตัวจะตาย




ประวัติความเป็นมา




พระสุนทรโวหารเกิดที่บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง (ปัจจุบันเป็นสถานีรถไฟบางกอกน้อย) บิดาชื่อ ภู่ เป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง มารดาเป็นข้าหลวงในพระราชวังหลัง บิดามารดาได้เลิกร้างตั้งแต่ท่านยังเป็นเด็ก โดยที่บิดาท่านออกบวช ณ ที่ภูมิลำเนาเดิม ส่วนมารดาได้เข้าถวายตัวเป็นนางนมของพระธิดาในกรมพระราชวังหลัง ท่านสุนทรภู่ได้รับการศึกษาครั้งแรกที่พระราชวังหลัง และที่วัดชีปะขาว (ปัจจุบันคือ วัดศรีสุดาราม) เมื่ออายุประมาณ ๒๐ ปี ได้ลอบรักกับหญิงชาววังชื่อ จันทร์ จนโดนจับได้จึงต้องโทษจำคุกอยู่ระยะหนึ่ง แต่ไม่นานท่านก็พ้นโทษเพราะความสามารถในทางบทกลอน เป็นที่พอพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ท่านสุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมอาลักษณ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็น ขุนสุนทรโวหาร ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องโคลงกลอนต่าง ๆ ครั้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ (สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) เสด็จขึ้นครองราชย์ ถูกปลดออกจากราชการ เนื่องจากได้ดื่มสุราอย่างหนัก ท่านจึงออกบวชและจำพรรษาอยู่ที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) และได้เดินทางไปที่ต่าง ๆ ท่านจึงแต่นิราศไว้มากมาย รวมอายุพรรษาที่ท่านบวชได้ ๑๐ พรรษา ท่านก็ลาสิกขาบท ชีวิตของท่านในช่วงนี้ลำบากมาก อยู่มาสักระยะหนึ่ง ท่านก็ได้บวชอีกครั้ง แต่ก็บวชได้ ๒ พรรษา และได้ถวายตัวอยู่กับเจ้าฟ้าขุนอิศเรศรังสรรค์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ ได้ขึ้นครองราชย์ ทรงสถาปนาเจ้าฟ้า กรมขุนอดิศเรศรังสรรค์เป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่พระบวรราชวัง ท่านสุนทรภู่จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระสุนทรโวหาร ตำแหน่งเจ้ากรมพระอาลักษณ์ฝ่ายบวรราชวัง ในปี พ.ศ. ๒๓๙๔ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๙๘ ท่านก็ถึงมรณกรรม รวมอายุได้ ๗๐ ปี ปัจจุบันแม้ท่านจะได้เสียชีวิตไปนานแล้ว แต่คุณประโยชน์ที่ท่านได้สร้างได้ ก็เป็นที่ประจักษ์ แก่ชาวโลก และชาวไทยเรา องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO ได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นบุคคลดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก ในวาระครบรอบ ๒๐๐ ปี



ผลงานสุนทรภู่
ผลงานสุนทรภู่ และวรรณกรรมของสุนทรภู่ มีอยู่มากมาย มีทั้งที่เป็น

... ประเภทนิราศมี ๙ เรื่อง

1. นิราศเมืองแกลง 2350

2. นิราศพระบาท 2350

3. นิราศภูเขาทอง 2371

4. นิราศเมืองเพชร 2371-2374

5. นิราศวัดเจ้าฟ้า 2375

6. นิราศอิเหนา 2375-2378

7. นิราศสุพรรณ 2377-2380

8. รำพันพิลาป 2385

9. นิราศพระประธม 2385-2388



ประเภทนิทานมี ๕ เรื่อง

1. โคบุตร

2. พระอภัยมณี

3. พระไชยสุริยา

4. ลักษณะวงศ์

5. สิงหไกรภพ



ประเภทสุภาษิตมี ๒ เรื่อง

1. สวัสดิรักษา

2. เพลงยาวถวายโอวาท



ประเภทบทละครมี ๑ เรื่อง



1. อภัยนุราช



ประเภทเสภามี ๒ เรื่อง



1. ขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม

2. พระราชพงศาวดาร



ประเภทบทเห่กล่อมมี ๔ เรื่อง



1. จับระบำ

2. กากี

3. พระอภัยมณี

4. โคบุตร
วัยเด็ก (พ.ศ.๒๓๒๙ - ๒๓๔๙) แรกเกิด - อายุ ๒๐ ปี




พระสุนทรโวหาร (ภู่) มีนามเดิมว่า ภู่ เป็นบุตรขุนศรีสังหาร (พลับ) และแม่ช้อย เกิดในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันจันทร์ เดือนแปด ขึ้นหนึ่งค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๔๘ เวลาสองโมงเช้า ตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๙ ที่บ้านใกล้กำแพงวังหลัง คลองบางกอกน้อย

สุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าจากกัน ฝ่ายบิดากลับไปบวชที่บ้านกร่ำ เมืองแกลง ส่วนมารดา คงเป็นนางนมพระธิดา ในกรมพระราชวังหลัง (กล่าวกันว่าพระองค์เจ้าจงกล หรือเจ้าครอกทองอยู่) ได้แต่งงานมีสามีใหม่ และมีบุตรกับสามีใหม่ ๒ คน เป็นหญิง ชื่อฉิมและนิ่ม ตัวสุนทรภู่เองได้ถวายตัว เป็นข้าในกรมพระราชวังหลังตั้งแต่ยังเด็ก



สุนทรภู่เป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน สันทัดทั้งสักวาและเพลงยาว เมื่อรุ่นหนุ่ม เกิดรักใคร่ชอบพอ กับนางข้าหลวง ในวังหลัง ชื่อแม่จัน ครั้นความทราบถึง กรมพระราชวังหลัง พระองค์ก็กริ้ว รับสั่งให้นำสุนทรภู่ และจันไปจองจำทันที แต่ทั้งสองถูกจองจำได้ไม่นาน



เมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคตในปี พ.ศ. ๒๓๔๙ ทั้งสองก็พ้นโทษออกมา เพราะเป็นประเพณีแต่โบราณ ที่จะมีการ ปล่อยนักโทษ เพื่ออุทิศส่วนพระราชกุศลแด่ พระมหากษัตริย์หรือพระราชวงศ์ ชั้นสูงเมื่อเสด็จสวรรคต หรือทิวงคตแล้ว แม้จะพ้นโทษ สุนทรภู่และจันก็ยังมิอาจสมหวังในรัก สุนทรภู่ถูกใช้ไปชลบุรี ดังความตอนหนึ่งในนิราศเมืองแกลงว่า



"จะกรวดน้ำคว่ำขันจนวันตาย แม้เจ้านายท่านไม่ใช้แล้วไม่มา"



แต่เจ้านายท่านใดใช้ไป และไปธุระเรื่องใดไม่ปรากฎ อย่างไรก็ดี สุนทรภู่ได้เดินทางเลยไปถึงบ้านกร่ำ เมืองแกลง จังหวัดระยอง เพื่อไปพบบิดาที่จากกันกว่า ๒๐ ปี สุนทรภู่เกิดล้มเจ็บหนักเกือบถึงชีวิต กว่าจะกลับมากรุงเทพฯ ก็ล่วงถึงเดือน ๙ ปี พ.ศ.๒๓๔๙







วัยฉกรรจ์ (พ.ศ.๒๓๕๐ - ๒๓๕๙) อายุ ๒๑ - ๓๐ ปี



หลังจากกลับจากเมืองแกลง สุนทรภู่ได้เป็นมหาดเล็กของพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ พระโอรสองค์เล็ก ของกรมพระราชวังหลัง ซึ่งทรงผนวชอยู่ที่วัดระฆัง ในช่วงนี้ สุนทรภู่ก็สมหวังในรัก ได้แม่จันเป็นภรรยา



สุนทรภู่คงเป็นคนเจ้าชู้ แต่งงานได้ไม่นาน ก็เกิดระหองระแหงกับแม่จัน ยังไม่ทันคืนดี สุนทรภู่ก็ต้อง ตามเสด็จพระองค์เจ้า ปฐมวงศ์ไปนมัสการพระพุทธบาท จ.สระบุรี ในวันมาฆบูชา สุนทรภู่ได้แต่งนิราศ เรื่องที่สองขึ้น คือ นิราศพระบาท สุนทรภู่ตามเสด็จกลับถึงกรุงเทพฯ ในเดือน ๓ ปี พ.ศ.๒๓๕๐



สุนทรภู่มีบุตรกับแม่จัน ๑ คน ชื่อหนูพัด แต่ชีวิตครอบครัวก็ยังไม่ราบรื่นนัก ในที่สุดแม่จันก็ร้างลาไป พระองค์เจ้าจงกล (เจ้าครอก ทองอยู่) ได้รับอุปการะหนูพัดไว้ ชีวิตของท่านสุนทรภู่ช่วงนี้คงโศกเศร้ามิใช่น้อย



ประวัติชีวิตของสุนทรภู่ในช่วงปี พ.ศ.๒๓๕๐ - ๒๓๕๙ ก่อนเข้ารับราชการ ไม่ชัดแจ้ง แต่เชื่อว่าท่าน หนีความเศร้าออกไป เพชรบุรี ทำไร่ทำนาอยู่กับหม่อมบุญนาคในพระราชวังหลัง ดังความตอนหนึ่งในนิราศ เมืองเพชร ที่ท่านย้อนรำลึกความหลัง สมัยหนุ่ม ว่า



"ถึงต้นตาลบ้านคุณหม่อมบุญนาค เมื่อยามยากจนมาได้อาศัย

มารดาเจ้าคราวพระวังหลังครรไล มาทำไร่ทำนา ท่านการุญ"







รับราชการครั้งที่ ๑ (พ.ศ.๒๓๕๙ - ๒๓๖๗) อายุ ๓๐ - ๓๘ ปี



พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นมหากวีและทรงสนพระทัยเรื่องการละครเป็นอย่างยิ่ง ในรัชสมัยของ พระองค์ ได้กวดขันการฝึกหัดวิธีรำจนได้ที่ เป็นแบบอย่างของละครรำมาตราบทุกวันนี้ พระองค์ยังทรงพระราชนิพนธ์บทละคร ขึ้นใหม่อีกถึง ๗ เรื่อง มีเรื่องอิเหนาและเรื่องรามเกียรติ์ เป็นต้น



มูลเหตุที่สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการ น่าจะเนื่องมาจากเรื่องละครนี้เอง ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับกรณีทอดบัตรสนเท่ห์ เพราะจากกรณี บัตรสนเท่ห์นั้น คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องถูกประหารชีวิตถึง ๑๐ คน แม้แต่ นายแหโขลน คนซื้อกระดาษดินสอ ก็ยังถูกประหารชีวิต ด้วย มีหรือสุนทรภู่จะรอดชีวิตมาได้ นอกจากนี้ สุนทรภู่เป็นแต่เพียงไพร่ มีชีวิตอยู่นอกวังหลวง ช่วงอายุก่อนหน้านี้ก็วนเวียน และเวียนใจอยู่กับเรื่องความรัก ที่ไหนจะมี เวลามายุ่งเกี่ยวกับเรื่องการเมือง



(กรณีวิเคราะห์นี้ มิได้รับรองโดยนักประวัติศาสตร์ เป็นความเห็นของคุณปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ เขียนไว้ในหนังสือ "เที่ยวไปกับสุนทรภู่" ซึ่งเห็นว่ามูลเหตุที่สุนทรภู่ได้เข้า รับราชการ น่าจะมาจากเรื่องละครมากกว่าเรื่องอื่น ซึ่งข้าพเจ้า พิเคราะห์ดูก็เห็นน่าจะจริง ผิดถูกเช่นไรโปรดใช้วิจารณญาณ)



อีกคราวหนึ่งเมื่อทรงพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ตอนศึกสิบขุนสิบรถ ทรงพระราชนิพนธ์บทชมรถทศกัณฐ์ว่า



"๏ รถที่นั่ง บุษบกบัลลังก์ตั้งตระหง่าน

กว้างยาวใหญ่เท่าเขาจักรวาล ยอดเยี่ยมเทียมวิมานเมืองแมน

ดุมวงกงหันเป็นควันคว้าง เทียมสิงห์วิ่งวางข้างละแสน

สารถีขี่ขับเข้าดงแดน พื้นแผ่นดินกระเด็นไปเป็นจุณ"



ทรงพระราชนิพนธ์มาได้เพียงนี้ ทรงนึกความที่จะต่อไปอย่างไรให้สมกับที่รถใหญ่โตปานนั้นก็นึกไม่ออก

จึงมีรับสั่งให้สุนทรภู่แต่งต่อ สุนทรภู่แต่งต่อว่า





"นทีตีฟองนองระลอก กระฉอกกระฉ่อนชลข้นขุ่น

เขาพระเมรุเอนเอียงอ่อนละมุน อนนต์หนุนดินดานสะท้านสะเทือน

ทวยหาญโห่ร้องก้องกัมปนาท สุธาวาสไหวหวั่นลั่นเลื่อน

บดบังสุริยันตะวันเดือน คลาดเคลื่อนจัตุรงค์ตรงมา"





กลอนบทนี้เป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยิ่งนัก นับแต่นั้นก็นับสุนทรภู่เป็นกวีที่ปรึกษาด้วย

อีกคนหนึ่ง ทรงตั้งเป็นที่ขุนสุนทรโวหาร พระราชทานที่ให้ปลูกเรือนที่ท่าช้าง และให้มีตำแหน่งเฝ้าฯ เป็นนิจ

แม้เวลาเสด็จประพาสก็โปรดฯ ให้สุนทรภู่ลงเรือพระที่นั่งไปด้วย เป็นพนักงานอ่านเขียนในเวลาทรงพระราชนิพนธ์บทกลอน







ออกบวช (พ.ศ.๒๓๖๗ - ๒๓๘๕) อายุ ๓๘ - ๕๖ ปี



วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๓๖๗ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต นอกจากแผ่นดินและผืนฟ้าจะร่ำไห้ ไพร่ธรรมดาคนหนึ่งที่มีโอกาสสูงสุดในชีวิต ได้เป็นถึงกวีที่ปรึกษา ในราชสำนักก็หมดวาสนาไปด้วย



"ทรงขัดเคืองสุนทรภู่ว่าแกล้งประมาทอีกครั้งหนึ่ง แต่นั้นก็ว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมึนตึงต่อสุนทรภู่มา จนตลอดรัชกาลที่ ๒ ... "



จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ เพียงคิดได้ด้วยเฉพาะหน้าตรงนั้นก็ตาม สุนทรภู่ก็ได้ทำการไม่เป็นที่พอพระราชหฤทัย ประกอบกับ ความอาลัยเสียใจหนักหนาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สุนทรภู่ จึงลาออกจากราชการ และตั้งใจบวชเพื่อสนอง พระมหากรุณาธิคุณ สุนทรภู่ได้เผยความในใจนี้ ในตอนหนึ่ง ของนิราศภูเขาทอง ว่า



"จะสร้างพรตอตส่าห์ส่งบุญถวาย ประพฤติฝ่ายสมถะทั้งวสา เป็นสิ่งของฉลองคุณมุลิกา ขอเป็นข้าเคียงพระบาททุกชาติไป"



เมื่อบวชแล้ว ท่านได้ออกจาริกแสวงบุญไปยังที่ต่างๆ เล่ากันว่า ท่านได้เดินทางไปยังหัวเมืองต่างๆ หลายแห่ง เช่นเมืองพิษณุโลก เมืองประจวบคีรีขันธ์ จนถึงเมืองถลางหรือภูเก็ต และเชื่อกันว่า ท่านคงจะเขียนนิราศเมืองต่างๆ นี้ไว้อย่างแน่นอน เพียงแต่ ยังค้นหาต้นฉบับไม่พบ



ชีพจรลงเท้าสุนทรภู่อีกครั้ง เมื่อท่านเกิดไปสนใจเรื่องเล่นแร่แปรธาตุและยาอายุวัฒนะ ถึงแก่อุตสาหะ ไปค้นหา ทำให้เกิด นิราศวัดเจ้าฟ้า และนิราศสุพรรณ ปี พ.ศ.๒๓๘๓ สุนทรภู่มาจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม ท่านอยู่ที่นี่ได้ ๓ พรรษา คืนหนึ่งเกิดฝันร้าย ว่าชะตาขาด จะถึงแก่ชีวิต จึงได้แต่งเรื่องรำพันพิลาป ซึ่งทำให้ทราบเรื่องราว ในชีวิตของท่านอีก เป็นอันมาก จากนั้นจึงลาสิกขาบทเมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๕ เพื่อเตรียมตัวจะตาย







รับราชการครั้งที่ ๒ (พ.ศ.๒๓๘๕ - ๒๓๙๘) อายุ ๕๖ - ๖๙ ปี



เมื่อสึกออกมา สุนทรภู่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งทรง พระยศเป็นสมเด็จพระเจ้า น้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ โปรดอุปถัมภ์ให้สุนทรภู่ ไปอยู่พระราชวังเดิมด้วย ต่อมา กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ทรงพระเมตตา อุปการะสุนทรภู่ด้วย กล่าวกันว่า ชอบพระราชหฤทัย ในเรื่องพระอภัยมณี จึงมีรับสั่งให้สุนทรภู่แต่งต่อ นอกจากนี้ สุนทรภู่ยังแต่งเรื่อง สิงหไตรภพถวายกรมหมื่น อัปสรฯ อีกเรื่องหนึ่ง



แม้สุนทรภู่จะอายุมากแล้ว แต่ท่านก็ยังรักการเดินทางและรักกลอนเป็นที่สุด ท่านได้แต่งนิราศไว้อีก ๒ เรื่องคือนิราศพระประธม และนิราศเมืองเพชร สุนทรภู่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระสุนทรโวหาร" ในปี พ.ศ.๒๓๙๔ ขณะที่ท่านมีอายุ ได้ ๖๕ ปีแล้ว ท่านถึงแก่อนิจกรรมเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๘ รวมอายุได้ ๖๙ ปี
ในสมัยก่อน ยังไม่มีคำว่า นิยาย หรือนวนิยาย เรื่องบันเทิงต่างๆ ยังใช้เรียกกันว่า "นิทาน" ทั้งนั้น แต่เดิมนิทานมักแต่งด้วยลิลิต ฉันท์ หรือกาพย์ นายเจือ สตะเวทิน ได้กล่าวยกย่องสุนทรภู่ในการริเริ่มใช้ กลอนสุภาพบรรยายเรื่องราวเป็นนิทาน ดังนี้ว่า


"ท่านสุนทรภู่ ได้เริ่มศักราชใหม่แห่งการกวีของเมืองไทย โดยสร้างโคบุตรขึ้นด้วยกลอนสุภาพ นับตั้งแต่เดิมมา เรื่องนิทานมักเขียนเป็นลิลิต ฉันท์ หรือกาพย์ สุนทรภู่เป็นคนแรกที่เสนอศิลปะของกลอน สุภาพ ในการสร้างนิทานประโลมโลก และก็เป็นผลสำเร็จ โคบุตรกลายเป็นวรรณกรรมแบบฉบับที่นัก แต่งกลอนทั้งหลายถือเป็นครู นับได้ว่า โคบุตรมีส่วนสำคัญยิ่งในประวัติวรรณคดีของชาติไทย"



คุณวิเศษของท่านสุนทรภู่ที่ทำให้นิทานของท่านโดดเด่นกว่านิทานเรื่องอื่นๆ นอกจากในกระบวน กลอนที่สันทัดจัดเจนเป็นอย่างยิ่งแล้ว ความเป็นปราชญ์ของท่านก็แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้ง โดยการสอด แทรกคติทั้งทางพุทธทางพราหมณ์ ความรู้ในวรรณกรรมโบราณ คัมภีร์ไตรเพท และความรู้อันน่าอัศจรรย์ เกี่ยวกับภูมิศาสตร์ของโลก ซึ่งกาญจนาคพันธุ์ (ขุนวิจิตรมาตรา) ได้กล่าวไว้อย่างละเอียดน่าสนใจอย่างยิ่ง

ใน "ภูมิศาสตร์สุนทรภู่"



มีการวิจารณ์กันว่า กลอนนิทานเรื่องลักษณวงศ์ และสิงหไตรภพนั้น สำนวนอ่อนกว่าเรื่อง

พระอภัยมณีมากนัก ไม่น่าที่ท่านสุนทรภู่จะแต่งเรื่องพระอภัยมณีก่อน ในเรื่องนี้ คุณ.... มีความเห็นว่า เรื่องลักษณวงศ์และสิงหไตรภพนั้น สุนทรภู่อาจจะเป็นเพียงผู้คิดเรื่องและเริ่มกลอนให้ แต่ผู้แต่งจริงๆ คงเป็นลูกศิษย์ของท่าน และท่านสุนทรภู่ช่วยตรวจทานให้



สำหรับเรื่องพระไชยสุริยา ท่านสุนทรภู่แต่งด้วยกาพย์ สำหรับใช้เป็นแบบเรียนเขียนอ่านของ

เจ้านายน้อยๆ พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง จึงไล่ลำดับความยากง่ายของการอ่าน ตั้งแต่แม่ ก กา เป็นต้น

ประเภทนิทาน มี 5 เรื่อง

1.นิทานโคบุตร

2.พระอภัยมณี

- พระอภัยมณีกับศรีสุวรรณเรียนวิชา

- นางผีเสื้อลักพระอภัยมณี

3.พระไชยสุริยา

4.ลักษณะวงศ์

5.สิงหไกรภพ





1.นิทานโคบุตร

เป็นนิทานเรื่องแรกของสุนทรภู่ แต่งขึ้นเพื่อถวายเจ้านายในพระราชวังหลังพระองค์หนึ่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับ โคบุตรซึ่งเป็นลูกของพระอาทิตย์และนางอัปสร โดยฝากเลี้ยงไว้กับพญาราชสีห์ และนางไกรสร เมื่อเจริญชันษาโคบุตรซึ่งได้รับของวิเศษจากพระอาทิตย์ คือ แหวน และสังวาล และได้รับมอบใบยาวิเศษที่สามารถชุบชีวิตคนตายให้มีชีวิตได้จากราชสีห์ ต่อจากนั้นจึงเป็นเรื่องาวการผจญภัยของโคบุตร ดังที่จะคัดมาตอนหนึ่งในตอนท้ายที่โคบุตรมีพระมเหสีสองคน คือ นางอำพันมาลา และมณีสาคร นางอำพันมาลาเห็นโคบุตรรักนางมณีสาครมากกว่าตน จึงทำเสน่ห์ให้โคบุตรหลงรัก แต่อรุณกุมารได้แก้ไขเสน่ห์ โคบุตรโกรธมากถึงกับสั่งประหาร แต่อรุณกุมารขอร้อง โคบุตรจึงขับไล่นางอำพันมาลาออกจากวัง ดังต่อไปนี้



โฉมอำพันมาลาน้ำตาไหล เห็นชาวในพระสนมมาคับคั่ง

ค่อยหยุดยืนฝืนองค์ทรงประทัง เหลียวมาสั่งสาวสวรรค์กำนัลใน

จงปกป้องครองกันเป็นผาสุก อย่ามีทุกข์เศร้าสร้อยละห้อยไห้

เรามีกรรมจำลาเจ้าคลาไคล หักพระทัยออกจากทวารา



2.พระอภัยมณี



เมื่อกล่าวถึงสุนทรภู่ ต้องนึกถึงเรื่องพระอภัยมณี และถ้าพูดถึงพระอภัยมณี ก็ต้องนึกถึงสุนทรภู่เป็นคู่กัน เรื่องพระอภัยมณีโด่งดังมานานมาก สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวไว้ในคำอธิบายว่าด้วยเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่ ตอนหนึ่งว่า "เมื่อข้าพเจ้ายังเยาว์ เป็นสมัยแรกมีหนังสือเรื่องพระอภัยมณีพิมพ์ขาย ครั้งนั้นเห็นคนชั้นผู้ใหญ่ทั้งผู้ชายผู้หญิง ชอบอ่านเรื่องพระอภัยมณีแพร่หลาย ถึงจำกลอนในเรื่องพระอภัยมณีไว้กล่าวเป็นสุภาษิตได้มากบ้างน้อยบ้างแทบจะไม่เว้นตัว" หมอสมิท ซึ่งเข้ามาตั้งโรงพิมพ์ในกรุงเทพฯ สมัยรัชกาลที่ ๕ ไล่ๆ กับหมอบรัดเลย์ ได้เป็นผู้พิมพ์ผลงานของท่านสุนทรภู่ ขายดิบขายดีจนร่ำรวย ถึงแก่ออกตามหาทายาทของสุนทรภู่ เพื่อมอบเงินรายได้ส่วนหนึ่งให้ ทำให้เราได้ทราบว่า ทายาทของท่านสุนทรภู่ใช้นามสกุลต่อมาว่า "ภู่เรือหงษ์"



เหตุที่พระอภัยมณีโด่งดังเป็นที่สุด น่าจะมาจากความแปลกแหวกแนวของท่านสุนทรภู่นั่นเอง แม้พระเอกของเรื่องจะยังเป็นโอรสเจ้าเมืองเหมือนนิทานจักรๆ วงศ์ๆ เรื่องอื่น แต่แทนที่พระเอกคนนี้จะไปเรียนวิชากษัตริย์ วิชานักรบ กลับไปเรียนดนตรี การออกผจญภัยของพระเอกคนนี้ก็ไม่ได้เจอแค่ยักษ์หรือเทวดาอย่างเรื่องอื่นๆ แต่มีทั้งผีเสื้อสมุทร นางเงือก โจรสลัด แขก ฝรั่ง อาหรับ จีน ฮินดู ฤาษี ชีเปลือย ฯลฯ แล้วยังฉากหลังของเนื้อเรื่องที่เป็นดินแดนผจญภัยอีกเล่า กลับไปอยู่นอกสมุทรอ่าวไทยเสียนี่ !! ความพิสดารของเนื้อเรื่องประกอบกับความสามารถในเชิงการประพันธ์ของท่านสุนทรภู่ทำให้นิทานเรื่องนี้โดดเด่นมาเป็นร้อยๆ ปีอย่างไม่มีเรื่องใดเทียบได้



พระอภัยมณี เป็นกลอนนิทานที่มีความยาวมากถึง ๙๕ เล่มสมุดไทย แบ่งเป็น ๖๔ ตอน ยังไม่สามารถระบุได้ว่า ท่านสุนทรภู่แต่งตอนใด เมื่อใด ให้ใคร มีกล่าวกันหลายลักษณะ บ้างก็ว่าท่านแต่งเมื่อครั้งตกยากหรือต้องจำคุก บ้างก็ว่าท่านแต่งถวายเจ้านายที่ให้ความอุปการะ เช่นพระองค์เจ้าลักขณานุคุณบ้าง กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพบ้าง ดังนี้



การเล่าเรื่องพระอภัยมณีในที่นี้ ผู้จัดทำยังไม่มีเวลาเสาะหาต้นฉบับที่เป็นกลอนนิทานสมบูรณ์ทั้งเรื่อง จึงจำเป็นต้องจับความจากหนังสือหลายเล่ม เพื่อรวบรวมเนื้อหาส่วนที่เป็นกลอนให้ได้มากที่สุด ส่วนที่ไม่มีกลอน จึงจะเล่าพรรณนาด้วยโวหารธรรมดา แม้จะยังไม่สามารถแสดงกลอนนิทานได้ครบทั้งเรื่อง แต่อัจฉริยภาพของท่านสุนทรภู่ก็ไม่ได้ถูกบดบังหรือลดทอนไปเลยแม้แต่น้อย



"นิทาน" พระอภัยมณี

ตอนที่ ๑ พระอภัยมณีกับศรีสุวรรณเรียนวิชา เรื่องย่อ

พระอภัยมณีและศรีสุวรรณ เป็นโอรสของท้าวสุทัศน์และพระนางประทุมเกสรแห่งกรุงรัตนา เมื่อทั้งสองพระองค์ เจริญพระชันษาถึงเวลาต้องเรียนหนังสือ ท้าวสุทัศน์จึงส่งพระโอรสไปศึกษาวิชากับทิศาปาโมกข์ ตามโบราณ ราชประเพณี พระอภัยมณีและศรีสุวรรณออกเดินทางไปจนถึงหมู่บ้านจันตคาม พบทิศาปาโมกข์สองคน คนหนึ่งชำนาญทางปี่ อีกคนหนึ่งชำนาญทางกระบอง ทั้งสองคนมีความเลื่อมใส จึงสมัครเป็นศิษย์ขอเรียนวิชาอยู่ในสำนัก นั้น พระอภัยมณีเรียนเป่าปี่ ส่วนศรีสุวรรณเรียนการต่อสู้ด้วยกระบอง

ครั้นเรียนสำเร็จแล้ว พระอภัยมณีและศรีสุวรรณก็ลาอาจารย์ทิศาปาโมกข์กลับบ้านเมือง แต่เมื่อท้าวสุทัศน์

ทรงทราบว่าพระโอรสไปเรียนวิชาอะไรมา ก็กริ้วนัก ว่าเลือกเรียนวิชาชั้นต่ำ ไม่สมกับเป็นโอรสของกษัตริย์ จึง ขับไล่พระโอรสทั้งสองออกจากบ้านเมือง ทั้งสองคนเดินทางร่อนเร่ไปได้รับความลำบากนัก ศรีสุวรรณยังปลอบโยน พระอภัยมณี เป็นคติเตือนใจถึงคุณค่าของการมีวิชาความรู้ว่า



มีความรู้อยู่กับตัวกลัวอะไร

ชีวิตไม่ปลดปลงคงได้ดี











พระอภัยมณีและศรีสุวรรณเดินทางผ่านป่าเขาลำเนาไพรมาจนถึงชายทะเลแห่งหนึ่ง ในกลอนกล่าวถึง

ว่า "มหิงษสิงขร" และยังมีคำว่าสิงขรอีกหลายแห่ง จนกาญจนาคพันธุ์เชื่อว่าไม่ใช่กลอนพาไป แต่เป็นการจงใจระบุถึงชื่อนี้จริง ๆ นั่นก็คือ "ด่านสิงขร" ชายทะเลเขตไทยทางด้านอ่าวอันดามัน ที่ริมชายทะเลนี้ ทั้งสองพระองค์ได้พบกับพราหมณ์สามสหาย คือโมราผู้มีวิชาผูกสำเภายนต์สานน ผู้มีความ สามารถเรียกลมฝน และวิเชียร ผู้เชี่ยวชาญการยิงธนู สามารถยิงได้ทีละเจ็ดลูก เมื่อไต่ถามทำความรู้จักกันแล้ว พราหมณ์ทั้งสามสงสัยว่า วิชาดนตรีของพระอภัยมณีนั้นดีอย่างไร พระอภัยมณีจึงเป่าปี่ให้ฟัง ทำให้พราหมณ์ทั้งสาม

และศรีสุวรรณหลับไป





๏ แต่ปางหลังยังมีกรุงกษัตริย์

สมมุติวงศ์ทรงนามท้าวสุทัศน์

อันกรุงไกรใหญ่ยาวสิบเก้าโยชน์

สะพรึบพร้อมไพร่ฟ้าประชาชี

มีเอกองค์นงลักษณ์อัครราช

สนมนางแสนสุรางคนิกร

มีโอรสสององค์ล้วนทรงลักษณ์

ชื่ออภัยมณีเป็นพี่ยา

อันกุมารศรีสุวรรณนั้นเป็นน้อง

พึ่งโสกันต์ชันษาสิบสามปี

สมเด็จท้าวบิตุรงค์ดำรงราชย์

จะเสกสองครองสมบัติขัตติยา

จึงดำรัสตรัสเรียกโอรสราช

พ่อจะแจ้งเจ้าจงจำคำโบราณ

ย่อมพากเพียรเรียนไสยศาสตร์เวท

ได้ป้องกันอันตรายนครา

พระลูกรักจักสืบวงศ์กษัตริย์

หาทิศาปาโมกข์ชำนาญชาญ







ผ่านสมบัติรัตนานามธานี

ภูเขาโขดเป็นกำแพงบูรีศรี

ชาวบุรีหรรษาสถาวร

พระนางนาฏนามปทุมเกสร

ดังกินนรน่ารักลักขณา

ประไพพักตร์เพียงเทพเลขา

พึ่งแรกรุ่นชันษาสิบห้าปี

เนื้อดังทองนพคุณจำรุญศรี

พระชนนีรักใคร่ดังนัยนา

แสนสวาทลูกน้อยเสน่หา

แต่วิชาสิ่งใดไม่ชำนาญ

มาริมอาสน์แท่นสุวรรณแล้วบรรหาร

อันชายชาญเชื้อกษัตริย์ขัตติยา

สิ่งวิเศษสืบเสาะแสวงหา

ตามกษัตริย์ขัตติยาอย่างโบราณ

จงรีบรัดเสาะแสวงแห่งสถาน

เป็นอาจารย์พากเพียรเรียนวิชาฯ









๏ บัดนั้นพี่น้องสองกษัตริย์

จึงทูลความตามจิตเจตนา

หวังแสวงไปตำแหน่งสำนักปราชญ์

ก็สมจิตเหมือนลูกคิดทุกคืนวัน

แล้วก้มกราบบิตุราชมาตุรงค์

จะเดินทางกลางป่าพนาดอน

จะพูดจาสารพัดบำหยัดยั้ง

แม้นหลับนอนผ่อนพ้นที่ภัยพาล

พระพี่น้องสององค์ทรงสดับ

พระเชษฐาบัญชาชวนน้องชาย

แล้วแต่งองค์สอดทรงเครื่องกษัตริย์

แล้วลีลามาสถิตบนแท่นทอง

จึงชวนกันจรจรัลจากสถาน

ศศิธรจรแจ้งกระจ่างตา



ประนมหัตถ์อภิวันท์ด้วยหรรษา

ลูกคิดมาจะประมาณก็นานครัน

ซึ่งรู้ศาสตราเวทวิเศษขยัน

พอแสงจันทร์แจ่มฟ้าจะลาจร

ทั้งสององค์ลูบหลังแล้วสั่งสอน

จงผันผ่อนตรึกจำคำโบราณ

จนลุกนั่งน้ำท่ากระยาหาร

อดบันดาลโกรธขึ้งจึงสบาย

เคารพรับบังคมด้วยสมหมาย

มาสรงสายสาคเรศบนเตียงรอง

เนาวรัตน์เรืองศรีไม่มีสอง

จนย่ำฆ้องสุริยนสนธยา

ออกทวารเบื้องบูรพทิศา

ทั้งสองราเดินเรียงมาเคียงกันฯ









๏ ล่วงตำบลชนบทไปหลายบ้าน

เสียงเสือกวางกลางเนินพนมวัน

จนแสงทองรองเรืองอร่ามฟ้า

คณานกเริงร้องคะนองไพร

ทั้งสององค์เหนื่อยอ่อนเข้าผ่อนพัก

ครั้นหายเหนื่อยเมื่อยล้าอุตส่าห์เดิน

บ้างผลิดอกออกผลพวงระย้า

พระอภัยมณีศรีสุวรรณ

พระพี่เก็บกาหลงส่งให้น้อง

พระน้องเก็บมะลุลีให้พี่ยา

เห็นมะม่วงพวงผลพึ่งสุกห่าม

อร่อยหวานปานเปรียบรสนมเนย

ครั้นสิ้นแสงสุริยาทิพากร

ทั้งสองแสนเหนื่อยยากลำบากองค์

พระเชษฐาอาลัยถึงไอศวรรย์

น้องคะนึงถึงพี่เลี้ยงแลนางนม



เข้าดอนด่านแดนไพรพอไก่ขัน

ให้หวั่นหวั่นวังเวงหวาดฤทัย

พระสุริยาเยื้องเยี่ยมเหลี่ยมไศล

เสียงเรไรจักจั่นสนั่นเนิน

หยุดสำนักลำเนาภูเขาเขิน

พิศเพลินมิ่งไม้ในไพรวัน

ปีบจำปาสุกรมนมสวรรค์

ต่างชิงกันเก็บพลางตามทางมา

เดินประคองเคียงกันด้วยหรรษา

ทั้งสองราเดินดมแล้วชมเชย

ทำไม้ง่ามน้อยน้อยสอยเสวย

อิ่มแล้วเลยล่วงทางมากลางดง

สำนักนอนเนินผาป่าระหง

บาทบงสุ์บวมบอบระบมตรม

กับกำนัลน้อยน้อยนางสนม

กับบรมบิตุเรศพระมารดาฯ









๏ สิบห้าวันดั้นเดินในไพรสณฑ์

เรียกว่าบ้านจันตคามพราหมณ์พฤฒา

อาจารย์หนึ่งชำนาญในการยุทธ์

รำกระบองป้องกันกายสกนธ์

อาจารย์หนึ่งชำนาญในการปี่

ผู้ใดฟังวังเวงในวิญญาณ์

อันสองท่านราชครูนั้นอยู่ตึก

เป็นข้อความตามมีวิชาการ

แม้นผู้ใดใครจะเรียนวิชามั่ง

ถ้ามีทองแสนตำลึงมาถึงใจ





๏ วันนั้นพระอภัยมณีศรีสุวรรณ

เห็นลิขิตปิดไว้กับใบทวาร

อันท่านครูอยู่ตึกตำแหน่งนี้

จึงดำรัสตรัสแก่พระน้องยา

แต่เที่ยวดูเสียให้รู้ทั้งย่านบ้าน

ตรัสพลางย่างเยื้องครรไลไป

เห็นแผ่นผาจารึกลายลิขิต

ท่านอาจารย์การกระบองก็คล่องนัก

จึงบัญชาว่ากับพระน้องแก้ว

สองอาจารย์ปานดวงแก้ววิเชียร

อนุชาว่ากลการศึก

ถ้าเรียนรู้รำกระบองได้ว่องไว

พระเชษฐาว่าจริงแล้วเจ้าพี่

แต่ใจพี่นี้รักทางนักเลง

ถึงการเล่นเป็นที่ประโลมโลก

แต่ขัดสนจนจิตคิดประวิง



ถึงตำบลบ้านหนึ่งใหญ่หนักหนา

มีทิศาปาโมกข์อยู่สองคน

ถึงอาวุธซัดมาดังห่าฝน

รักษาตนมิให้ต้องคมศัสตรา

ทั้งดีดสีแสนเสนาะเพราะหนักหนา

เคลิ้มนิทราลืมกายดังวายปราณ

จดจารึกอักขราไว้หน้าบ้าน

แสนชำนาญเลิศลบภพไตร

จงอ่านหนังสือแจ้งแถลงไข

จึงจะได้ศึกษาวิชาการฯ





จรจรัลเข้ามาถึงหน้าบ้าน

พระทรงอ่านแจ้งจิตในกิจจา

ฝีปากปี่เป่าเสนาะเพราะหนักหนา

อันวิชาสิ่งนี้พี่ชอบใจ

ท่านอาจารย์ยังจะมีอยู่ที่ไหน

ถึงตึกใหญ่ที่ครูอยู่สำนัก

เข้ายืนชิดอ่านดูรู้ประจักษ์

ได้ทองหนักแสนตำลึงจึงได้เรียน

พ่อเห็นแล้วหรือที่ลายลิขิตเขียน

เจ้ารักเรียนที่ท่านอาจารย์ใด

น้องนี้นึกรักมาแต่ไหนไหน

จะชิงชัยข้าศึกไม่นึกเกรง

วิชามีแล้วใครไม่ข่มเหง

หมายว่าเพลงดนตรีนี้ดีจริง

ได้ดับโศกสูญหายทั้งชายหญิง

ด้วยทรัพย์สิ่งหนึ่งนี้ไม่มีมาฯ









๏ ศรีสุวรรณปัญญาฉลาดแหลม

ธำมรงค์เรือนมณีมีราคา

พอบูชาอาจารย์เอาต่างทรัพย์

อันตัวน้องนี้จะอยู่ด้วยครูกระบอง

ขอพระองค์จงเสด็จไปท้ายบ้าน

ครั้นเสร็จสมปรารถนาไม่ช้าที

พระอภัยได้คิดถึงคำน้อง

เข้าหยุดยั้งสั่งเสียกันเสร็จการ

ศรีสุวรรณกุมารชาญฉลาด

เห็นภูมิฐานเคหาโอฬารึก

มองเขม้นเห็นพราหมณ์พฤฒาเฒ่า

ดูรูปร่างอย่างเยี่ยงพระโยคี

ก็แจ้งว่าอาจารย์เจ้าของตึก

กระทั่งไอให้เสียงเป็นแยบคาย





๏ ฝ่ายพราหมณ์พรหมโบราณอาจารย์เฒ่า

ชำเลืองเนตรแลดูเห็นกุมาร

ดูแน่งน้อยรูปร่างเหมือนอย่างหุ่น

อร่ามเรืองเครื่องประดับระยับตา

จึงขยดลดเลื่อนลงนั่งใกล้

มีธุระอะไรในใจจง





๏ หน่อกษัตริย์ขัตติย์วงศ์ทรงสดับ

พระบิดาข้าบำรุงซึ่งกรุงไกร

จึงดั้นเดินเนินป่ามาถึงนี่

รู้ว่าท่านพฤฒาเป็นอาจารย์

แต่โปรดเกล้าคราวมาข้ายากแค้น

ธำมรงค์เรือนมณีฉันมีมา

แล้วถอดแหวนวงน้อยที่ก้อยขวา

ตาพราหมณ์เฒ่าเอาสำลีประชีรอง

แล้วไต่ถามนามวงศ์ถึงพงศา

อยู่เคหาตาพราหมณ์ไม่ลามลวน

ถึงยามดึกฝึกสอนในการยุทธ์

กระบองกระบี่ถี่ถ้วนทุกวิชา



จึงยิ้มแย้มเยื้อนตอบพระเชษฐา

จะคิดค่าควรแสนตำลึงทอง

เห็นจะรับสอนสั่งเราทั้งสอง

หัดให้คล่องเชี่ยวชาญชำนาญดี

อยู่ศึกษาอาจารย์ข้างดีดสี

จะตามพี่ไปหาที่อาจารย์

ต่างยิ้มย่อมปรีดิ์เปรมเกษมศานต์

กลับไปหาอาจารย์ดังใจนึก

ยุรยาตรเยื้องย่างมาข้างตึก

ทั้งที่ฝึกสอนสานุศิษย์มี

กระหมวดเกล้าเอนหลังนั่งเก้าอี้

กระบองสี่ศอกวางไว้ข้างกาย

เห็นสมนึกเหมือนจิตที่คิดหมาย

แล้วก้มกายเข้าไปหาท่านอาจารย์ฯ





เป็นพงศ์เผ่าพฤฒามหาศาล

ศรีสัณฐาณผุดผ่องดังทองทา

พึ่งแรกรุ่นน่ารักเป็นนักหนา

ก็รู้ว่ากษัตริย์ขัตติย์วงศ์

แล้วถามไถ่ข้อความตามประสงค์

เจ้าจึงตรงมาหาจงว่าไปฯ





น้อมคำนับเล่าแจ้งแถลงไข

บัญชาให้เที่ยวหาวิชาการ

พอเห็นมีอักขราอยู่หน้าบ้าน

ขอประทานพากเพียรเรียนวิชา

อันทองแสนตำลึงนั้นไม่ทันหา

ตีราคาควรแสนตำลึงทอง

ให้พฤฒาทดแทนคุณสนอง

ขอดประคองไว้ในผมให้สมควร

สนทนาปรีดิ์เปรมเกษมสรวล

ครั้นค่ำชวนหน่อไทเข้าไสยา

เพลงอาวุธดาบดั้งให้ตั้งท่า

ค่อยศึกษาตั้งใจจะให้ดีฯ









๏ ฝ่ายเชษฐามาถึงที่ท้ายบ้าน

เอาธำมรงค์ทรงนิ้วดัชนี





๏ ฝ่ายครูเฒ่าพินทพราหมณ์รามราช

ให้ข้าไทใช้สอยคอยประคอง

แล้วพาไปยอดเขาให้เป่าปี่

แต่เสือช้างกลางไพรถ้าได้ยิน

ประมาณเสร็จเจ็ดเดือนโดยวิถาร

สิ้นความรู้ครูประสิทธิ์ไม่ปิดบัง

ถ้าแม้นว่าข้าศึกมันโจมจับ

เอาปี่เป่าเล้าโลมน้ำใจคน

คือรูปรสกลิ่นเสียงเคียงสัมผัส

ให้ใจอ่อนนอนหลับดังวายปราณ

แล้วให้ปี่ที่เพราะเสนาะเสียง

อวยพรพลางทางหยิบธำมรงค์

ซึ่งดนตรีตีค่าไว้ถึงแสน

ใช่ประสงค์ตรงทรัพย์สิ่งสุวรรณ

ต่อกษัตริย์เศรษฐีที่มีทรัพย์

จงคืนเข้าบุรีรักษ์นัครา





๏ หน่อกษัตริย์โสมนัสด้วยสมนึก

พิไรร่ำอำลาด้วยอาวรณ์





๏ ฝ่ายว่านฤบดีศรีสุวรรณ

ทั้งโล่เขนเจนจัดหัดประจญ

จนหมดสิ้นความรู้ท่านครูเฒ่า

เลือกล้วนเหล็กมะลุลีตีกระบอง

ทั้งธำมรงค์วงนั้นก็คืนให้

เหมือนอาจารย์คนนั้นที่พรรณนา

หน่อกษัตริย์สุริย์วงศ์ทรงสดับ

ครรไลลาอาจารย์จรลี

พอมาพบพี่ชายที่ท้ายบ้าน

ต่างเล่าความตามที่เรียนรู้วิชา

ออกจากบ้านจันตคามข้ามทิวทุ่ง

สิบห้าวันบรรลุถึงเวียงชัย

ออกแท่นทองท้องพระโรงจำรูญศรี

พระพี่น้องสององค์ก็ตรงมา



ก็เข้าหาอาจารย์ที่ดีดสี

ให้พราหมณ์ตีค่าแสนตำลึงทองฯ





แสนสวาทรักใคร่มิได้หมอง

เข้าในห้องหัดเพลงบรรเลงพิณ

ที่อย่างดีสิ่งใดก็ได้สิ้น

ก็ลืมกินน้ำหญ้าเข้ามาฟัง

พระกุมารได้สมอารมณ์หวัง

จึงสอนสั่งอุปเท่ห์เป็นเล่ห์กล

จะรบรับสารพัดให้ขัดสน

ด้วยเล่ห์กลโลกาห้าประการ

เกิดกำหนัดลุ่มหลงในสงสาร

จึงคิดอ่านเอาชัยเหมือนใจจง

ยินสำเนียงถึงไหนก็ใหลหลง

คืนให้องค์กุมาราแล้วว่าพลัน

เพราะหวงแหนกำชับไว้ขับขัน

จะป้องกันมิให้ไพร่ได้วิชา

มาคำนับจึงได้ดังปรารถนา

ให้ชื่นจิตพระบิดาแลมารดรฯ





จดจารึกคำท่านอาจารย์สอน

แล้วบทจรจากบ้านอาจารย์ตนฯ





ก็เข้มข้นกลศึกที่ฝึกฝน

ในการกลอาวุธสุดทำนอง

จึงเรียกเจ้าเข้ามานั่งสองต่อสอง

ให้เป็นของคู่หัตถ์กษัตรา

แถลงไขข้อความตามปริศนา

แล้วพฤฒาอวยชัยไปจงดี

น้อมคำนับปรีดิ์เปรมเกษมศรี

ตามวิถีแถวทางถนนมา

สองสำราญสรวลสันต์แล้วหรรษา

แล้วพี่พาน้องเดินดำเนินไป

หมายตรงกรุงรัตนาเข้าป่าใหญ่

พอท้าวไทสุทัศน์กษัตรา

แสนเสนีเฝ้าแหนอยู่แน่นหนา

เฝ้าบิดาที่ท้องพระโรงชัยฯ









๏ กรุงกษัตริย์สุริย์วงศ์พระทรงยศ

เรียกมานั่งข้างแท่นทองประไพ

หนึ่งพี่น้องสองเสาะแสวงหา

หรือปลอดเปล่าเล่าให้บิดาฟัง





๏ พระพี่น้องสององค์ทรงสวัสดิ์

พระเชษฐาทูลแถลงแจ้งคดี

ศรีสุวรรณนั้นเรียนในการยุทธ์

ทั้งสองสิ่งยิ่งยวดวิชาการ





๏ ท้าวสุทัศน์ฟังอรรถโอรสราช

โกรธกระทืบบาทาแล้วพาที

อันดนตรีปี่พาทย์ตะโพนเพลง

แต่พวกกูผู้หญิงที่ในวัง

อันวิชาอาวุธแลโล่เขน

เป็นกษัตริย์จักรพรรดิพิสดาร

ลูกกาลีมีแต่จะขายหน้า

จะให้อยู่เวียงวังก็จังไร

ไปเที่ยวเล่นเป็นปีแล้วมิสา

พระพิโรธโกรธตรัสด้วยขัดเคือง





๏ แสนสงสารพี่น้องสองกษัตริย์

อัปยศอดสูเสนาใน

พระเชษฐาว่าโอ้พ่อเพื่อนยาก

มาถึงวังยังไม่ถึงสักครึ่งวัน

พระกริ้วกราดคาดโทษว่าโฉดเขลา

อยู่ก็อายไพร่ฟ้าประชาชน

แล้วสวมสอดกอดน้องประคองหัตถ์

พระอภัยมณีศรีสุวรรณ

ฝ่ายมหาเสนาพฤฒามาตย์

ทั้งสองฟื้นตื่นกายระกำใจ



เห็นโอรสยินดีจะมีไหน

แล้วถามไถ่ทุกข์ยากเมื่อจากวัง

ได้วิชาเสร็จสมอารมณ์หวัง

พ่อนี้นั่งคอยท่าทุกราตรีฯ





ประสานหัตถ์น้อมประณตบทศรี

ลูกเรียนกลดนตรีชำนาญชาญ

เพลงอาวุธเข้มแข็งกำแหงหาญ

ใครจะปานเปรียบได้นั้นไม่มีฯ





บรมนาถขัดข้องให้หมองศรี

อย่าอวดดีเลยกูไม่พอใจฟัง

เป็นนักเลงเหล่าโลนเล่นโขนหนัง

มันก็ยังเรียนร่ำได้ชำนาญ

ชอบแต่เกณฑ์ศึกเสือเชื้อทหาร

มาเรียนการเช่นนั้นด้วยอันใด

ช่างชั่วช้าทุจริตผิดวิสัย

ชอบแต่ไสคอส่งเสียจากเมือง

มาพูดจาให้กูคันหูเหือง

แล้วย่างเยื้องจากบัลลังก์เข้าวังในฯ





บิดาตรัสโกรธาไม่ปราศรัย

ทั้งน้อยใจผินหน้าปรึกษากัน

สู้ลำบากยากบุกป่าพนาสัณฑ์

ยังไม่ทันทดลองทั้งสองคน

พี่กับเจ้านี้ก็เห็นไม่เป็นผล

ผิดก็ดั้นด้นไปในไพรวัน

สองกษัตริย์โศกทรงกันแสงศัลย์

ก็พากันซวนซบสลบไป

เห็นหน่อนาถนิ่งแน่เข้าแก้ไข

ชลนัยน์แนวนองทั้งสององค์ฯ









๏ พระเชษฐาว่ากรรมแล้วน้องเอ๋ย

มิทันสั่งอำมาตย์ญาติวงศ์

พระพี่ชายชวนเดินดำเนินหน้า

พระออกนอกนคราเข้าป่ารัง

อันตัวเราพี่น้องทั้งสองนี้

ทั้งโภชนาอาหารกันดารครัน





๏ พระอนุชาว่าพี่นี้ขี้ขลาด

แมันชีวันยังไม่บรรลัยลาญ

เผื่อพบพานบ้านเมืองที่ไหนมั่ง

มีความรู้อยู่กับตัวกลัวอะไร





๏ พระเชษฐาว่าจริงแล้วน้องรัก

กระนั้นแต่งองค์ไปทำไมมี

เราปลอมแปลงแต่งกายเป็นชายไพร่

สองกษัตริย์ตรัสคิดเห็นชอบกล

เอาภูษาผ้าห่มห่อกระหวัด

ศรีสุวรรณนั้นคุมกระบองกราย

ค่อยดั้นเดินเนินพนมพนาเวศ

ครั้นค่ำค้างกลางวันก็ไคลคลา

แต่เดินทางกลางเถื่อนได้เดือนเศษ

ถึงเนินทรายชายทะเลชโลทร

ค่อยย่างเหยียบเลียบริมทะเลลึก

ทั้งสองราล้าเลื่อยเหนื่อยกำลัง



อย่าอยู่เลยเรามาไปไพรระหง

ทั้งสององค์ออกจากจังหวัดวัง

อนุชาโฉมงามมาตามหลัง

ครั้นเหนื่อยนั่งสนทนาปรึกษากัน

ไม่มีที่พึ่งใครในไพรสัณฑ์

ยังนับวันก็แต่กายจะวายปราณฯ





เป็นชายชาติช้างงาไม่กล้าหาญ

ก็เซซานซอกซอนสัญจรไป

พอประทังกายาอยู่อาศัย

ชีวิตไม่ปลดปลงคงได้ดีฯ





เจ้าแหลมหลักตักเตือนสติพี่

ให้เป็นที่กังขาประชาชน

เหมือนยากไร้แรมทางมากลางหน

จึงปลดเปลื้องเครื่องต้นออกจากกาย

แล้วคาดรัดเอวไว้มิให้หาย

พระพี่ชายถือปี่แล้วลีลา

สีขเรศห้วยธารละหานผา

กินผลาผลไม้ในดงดอน

ออกพ้นเขตเงาไม้ไพรสิงขร

ในสาครคลื่นลั่นสนั่นดัง

ถึงร่มพฤกษาไทรดังใจหวัง

ลงหยุดนั่งนอนเล่นเย็นสบายฯ









๏ จะจับบทบุตรพราหมณ์สามมาณพ

คนหนึ่งชื่อโมราปรีชาชาย

เอาฟางหญ้ามาผูกสำเภาได้

คนหนึ่งมีวิชาชื่อสานน

คนหนึ่งนั้นมีนามพราหมณ์วิเชียร

ถือธนูสู้ศึกนึกทะนง

ธนูนั้นลั่นทีละเจ็ดลูก

ล้วนแรกรุ่นร่วมรู้คู่ชีวิต

พอแดดร่มลมตกลงชายเขา

ออกจากบ้านอ่านมนต์เรียกพระพาย

ถึงทะเลแล่นตรงลงในน้ำ

มาใกล้ไทรสาขาริมวาริน

เห็นพี่น้องสององค์ล้วนทรงโฉม

ทอดสมอรอราเภตรายนต์

เข้ามาใกล้ไทรทองสองกษัตริย์

ว่าดูรามาณพทั้งสองนาย

หรือเดินดงหลงทางมาต่างบ้าน

แม้นไม่มีพี่น้องญาติกา





๏ พระฟังความถามทักเห็นรักใคร่

เราชื่ออภัยมณีศรีสุวรรณ

ไปร่ำเรียนวิชาที่อาจารย์

อันตัวเรานี้ชำนาญการดนตรี

พระบิตุเรศขับไล่มิให้อยู่

เราพี่น้องสองคนจึงซนมา

ด้วยจะใคร่ไต่ถามตามสงสัย

ที่สมศักดิ์จักรพรรดิพิสดาร

อันตัวเจ้าเผ่าพราหมณ์สามมาณพ

ท่านทั้งสามนามใดไปไหนมา



ได้มาพบคบเล่นเป็นสหาย

มีแยบคายชำนาญในการกล

แล้วแล่นไปในจังหวัดไม่ขัดสน

ร้องเรียกฝนลมได้ดังใจจง

เที่ยวร่ำเรียนสงครามตามประสงค์

หมายจะปลงชีวาปัจจามิตร

หมายให้ถูกที่ตรงไหนก็ไม่ผิด

เคยไปเล่นเป็นนิจที่เนินทราย

ขึ้นสำเภายนต์ใหญ่ดังใจหมาย

แสนสบายบุกป่ามาบนดิน

เที่ยวลอยลำเล่นมหาชลาสินธุ์

ก็ได้ยินสุรเสียงสำเนียงคน

งามประโลมหลากจิตคิดฉงน

ทั้งสามคนขึ้นเดินบนเนินทราย

โสมนัสถามไต่ดังใจหมาย

เจ้าเพื่อนชายชื่อไรไปไหนมา

จงแจ้งการณ์ให้เราฟังที่กังขา

เราจะพาไปไว้เรือนเป็นเพื่อนกันฯ





จึงขานไขความจริงทุกสิ่งสรรพ์

เป็นพงศ์พันธุ์จักรพรรดิสวัสดี

ตำบลบ้านจันตคามพนาศรี

น้องเรานี้ก็ชำนาญการศัสตรา

ว่าเรียนรู้ต่ำชาติวาสนา

หวังจะหาแห่งครูผู้ชำนาญ

วิชาใดจึงจะดีให้วิถาร

จะคิดอ่านเรียนร่ำเอาตำรา

ได้มาพบกันวันนี้ดีหนักหนา

จงเมตตาบอกเล่าให้เข้าใจฯ









๏ ดรุณพราหมณ์สามคนได้แจ้งอรรถ

ประณตนั่งบังคมขออภัย

ซึ่งพระองค์สงสัยจึงไต่ถาม

ข้าชื่อวิเชียรโมราเจ้าสานน

แสวงหาตั้งเพียรเพื่อเรียนรู้

ได้รู้เรียกลมฝนคือคนนั้น

ยิงออกไปได้ทีละเจ็ดลูก

คนนั้นผูกเรือยนต์แล่นบนดิน

ซึ่งองค์พระอนุชาเรียนอาวุธ

แต่ดนตรีนี้ดูไม่ชอบกล

ดนตรีมีคุณที่ข้อไหน

ยังสงสัยในจิตคิดประวิง





๏ พระฟังความพราหมณ์น้อยสนองถาม

อันดนตรีมีคุณทุกอย่างไป

ถึงมนุษย์ครุฑาเทวราช

แม้นปี่เราเป่าไปให้ได้ยิน

ให้ใจอ่อนนอนหลับลืมสติ

ซึ่งสงสัยไม่สิ้นในวิญญาณ์

แล้วหยิบปี่ที่ท่านอาจารย์ให้

พระเป่าเปิดนิ้วเอกวิเวกดัง





๏ ในเพลงปี่ว่าสามพี่พราหมณ์เอ๋ย

ถึงร้อยรสบุปผาสุมาลัย

พระจันทรจรสว่างกลางโพยม

แม้นได้แก้วแล้วจะค่อยประคองเคย

เจ้าพราหมณ์ฟังวังเวงวะแว่วเสียง

หวาดประหวัดสตรีฤดีดาล

ศรีสุวรรณนั้นนั่งอยู่ข้างพี่

พระแกล้งเป่าแปลงเพลงวังเวงใจ



ว่ากษัตริย์สุริย์วงศ์ไม่สงสัย

พระอย่าได้ถือความข้าสามคน

จะทูลความให้แจ้งแห่งนุสนธิ์

ทั้งสามคนคู่ชีวิตเป็นมิตรกัน

ได้เป็นคู่ศึกษาวิชาขยัน

ข้าแข็งขันยิงธนูสู้ไพริน

จะให้ถูกตรงไหนก็ได้สิ้น

อยู่บ้านอินทคามทั้งสามคน

เข้ายงยุทธ์ข้าก็เห็นจะเป็นผล

ข้าแสนสนเท่ห์ในน้ำใจจริง

หรือใช้ได้แต่ข้างเที่ยวเกี้ยวผู้หญิง

จงแจ้งจริงให้กระจ่างสว่างใจฯ





จึงเล่าความจะแจ้งแถลงไข

ย่อมใช้ได้ดังจินดาค่าบุรินทร์

จตุบาทกลางป่าพนาสิน

ก็สุดสิ้นโทโสที่โกรธา

อันลัทธิดนตรีดีหนักหนา

จงนิทราเถิดจะเป่าให้เจ้าฟัง

เข้าพิงพฤกษาไทรดังใจหวัง

สำเนียงวังเวงแว่วแจ้วจับใจฯ





ยังไม่เคยชมชิดพิสมัย

จะชื่นใจเหมือนสตรีไม่มีเลย

ไม่เทียมโฉมนางงามเจ้าพราหมณ์เอ๋ย

ถนอมเชยชมโฉมประโลมลาน

สำเนียงเพียงการเวกกังวานหวาน

ให้ซาบซ่านเสียวสดับจนหลับไป

ฟังเสียงปี่วาบวับก็หลับไหล

เป็นความบวงสรวงพระไทรที่เนินทรายฯ





"นิทาน" พระอภัยมณี

ตอนที่ ๒ นางผีเสื้อลักพระอภัยมณี



ครั้งนั้น ยังมีนางผีเสื้อน้ำตนหนึ่ง อาศัยอยู่ในทะเล เที่ยวหาปลาและสัตว์น้ำกินเป็นอาหาร ระหว่างที่พระอภัยมณีเป่าปี่บวงสรวงพระไทรอยู่นั้น นางผีเสื้อน้ำกำลังออกหากิน และได้ยินเสียงปี่แว่วมา จึงเดินทางมาตามเสียง เมื่อได้เห็นพระอภัยมณี ก็นึกรักทันที ใคร่จะได้มาเป็นสามี จึงใช้กำลังเข้าลักพาตัวพระอภัยมณีไปยังถ้ำของตน พระอภัยมณีตกใจจนสิ้นสติ เมื่อฟื้นคืนมาพบตัวเองอยู่ในถ้ำ และมีหญิงสาวสวยงามปรนนิบัติอยู่ข้างๆ ทรงรู้ทันทีว่า หญิงนี้คือนางยักษ์ ด้วยไม่มีแววตา ทรงหว่านล้อมขอให้ปล่อยตัวพระองค์ไป แต่นางผีเสื้อน้ำไม่ยินยอม ทั้งเกลี้ยกล่อมและใช้ กำลัง จะให้พระอภัยมณียอมเป็นสามีตนให้ได้ พระอภัยเห็นว่าไม่มีทางหนี จึงให้นางยักษ์สาบานว่าจะไม่ทำร้าย แล้วจึงจะ ยอมเป็นสามี นางยักษ์ก็ยอมสาบาน พระอภัยมณีจึงจำต้องอยู่ด้วยนางยักษ์แต่นั้นมา โดยนางออกไปหาผลไม้มาถวาย พระอภัยมณีทุกๆ วัน





๏ จะกล่าวถึงอสุรีผีเสื้อน้ำ

ได้เป็นใหญ่ในพวกปีศาจพราย

ตะวันเย็นขึ้นมาเล่นทะเลกว้าง

ฉวยฉนากลากฟัดกัดกุมภา

แล้วเล่นน้ำดำโดดโลดทะลึ่ง

เข้าใกล้ฝั่งวังวนข้างต้นไทร

วิเวกแว่ววังเวงด้วยเพลงปี่

เสน่หาอาวรณ์อ่อนกำลัง

แล้วลุกขึ้นเท้าแขนแหงนชะแง้

เห็นพระองค์ทรงโฉมประโลมใจ

ทั้งทรวดทรงองค์เอวก็อ้อนแอ้น

ถ้าแม้นได้กันกับกูเป็นคู่ครอง

น้อยหรือแก้มซ้ายขวาก็น่าจูบ

ทั้งลมปากเป่าปี่ไม่มีเครือ

ยิ่งปั่นป่วนรวนเรเสน่ห์รัก

อุตลุดผุดทะลึ่งขึ้นตึงตัง

ชุลมุนหมุนกลมดังลมพัด

กลับกระโดดลงน้ำเสียงต้ำโครม

ครั้นถึงแท่นผาศิลาลาด

ค่อยวางองค์ลงบนเตียงเคียงประคอง





๏ แสนสงสารพระอภัยใจจะขาด

สลบล้มมิได้สมประฤๅดี





๏ อสุรีผีเสื้อแสนสวาท

เออพ่อคุณทูนหัวผัวข้าตาย

เห็นอุ่นอยู่รู้ว่าสลบหลับ

พ่อทูนหัวกลัวน้องนี้มั่นคง

จำจะแสร้งแปลงร่างเป็นนางมนุษย์

เห็นพระองค์ทรงโฉมประโลมลาน

แล้วอ่านเวทเพศยักษ์ก็สูญหาย

เอาธารามาชโลมพระโฉมยง



อยู่ท้องถ้ำวังวนชลสาย

สกนธ์กายโตใหญ่เท่าไอยรา

เที่ยวอยู่กลางวารินกินมัจฉา

เป็นภักษานางมารสำราญใจ

เสียงโผงผึงเผ่นโผนโจนไถล

พอนางได้ยินเสียงสำเนียงดัง

ป่วนฤดีดาลดิ้นถวิลหวัง

เข้าเกยฝั่งหาดทรายสบายใจ

ชำเลืองแลหลากจิตคิดสงสัย

นั่งเป่าปี่อยู่ใต้พระไทรทอง

เป็นหนุ่มแน่นน่าชมประสมสอง

จะประคองกอดแอบไว้แนบเนื้อ

ช่างสมรูปนี่กระไรวิไลเหลือ

นางผีเสื้อตาดูทั้งหูฟัง

สุดจะหักวิญญาณ์เหมือนบ้าหลัง

โดยกำลังโลดโผนโจนกระโจม

กอดกระหวัดอุ้มองค์พระทรงโฉม

กระทุ่มโถมถีบดำไปถ้ำทอง

แสนสวาทเปรมปรีดิ์ไม่มีสอง

ทำกระหยิ่มยิ้มย่องด้วยยินดีฯ





กลัวอำนาจนางยักขินีศรี

อยู่บนที่แผ่นผาศิลาลายฯ





เห็นภูวนาถนิ่งไปก็ใจหาย

ราพณ์ร้ายลูบต้องประคององค์

ยังไม่ดับชนม์ชีพเป็นผุยผง

ด้วยรูปทรงอัปลักษณ์เป็นยักษ์มาร

ให้ผาดผุดทรวดทรงส่งสัณฐาน

จะเกี้ยวพานรักใคร่ดังใจจง

สกนธ์กายดังกินนรนวลหง

เข้าแอบองค์นวดฟั้นคั้นประคองฯ









๏ พระพลิกฟื้นตื่นสมประดีได้

แลเขม้นเห็นนางนวลละออง

นิ่งพินิจพิศดูรู้ว่ายักษ์

ยิ่งชิงชังคั่งแค้นแน่นอุรา

แล้วคิดกลับดับเดือดให้เหือดหาย

นี่แน่นางอสุรีขินีมาร

จะขอถามตามตรงจงประจักษ์

อันตัวเราเป็นมนุษย์บุรุษชาย

เข้าอิงแอบแนบข้างอยู่อย่างนี้

มนุษย์ยักษ์รักกันด้วยอันใด





๏ อสุรีผีเสื้อสดับเสียง

ทำเสแสร้งใส่จริตกระบิดกระบวน

อันน้องนี้ไร้คู่ที่สู่สม

ถึงเป็นยักษ์ยังไม่มีราคีมัว

แม่เจ้าเอ๋ยคิดมาน่าหัวร่อ

พลางแกล้งทำสะบัดสะบิ้งทิ้งสไบ

แล้วแกล้งทำสำออยพูดอ้อยอิ่ง

ยิ่งถอยหนีก็ยิ่งตามด้วยความรัก





๏ พระสุดแสนแค้นเคืองรำคาญจิต

ถีบจนพลัดจากแท่นแผ่นศิลา

เขาเบือนเบื่อเหลือเกลียดขี้เกียจตอบ

ทำแสนแง่แสนงอนฉะอ้อนความ

ถึงมาตรแม้นม้วยมุดสุดชีวาตม์

สัญชาติยักษ์ไม่สมัครสมาคม





๏ อีนางยักษ์กลับปลอบไม่ตอบโกรธ

ข้าหมายเหมือนภัสดาถึงด่าตี

จนผู้หญิงอิงแอบแนบถนอม

ช่างไม่คิดขวยเก้อเอออะไร

มาร่วมเรียงเคียงข้างอยู่อย่างนี้

น่าอดสูผู้หญิงเสียจริงเจียว



ในฤทัยหมกมุ่นให้ขุ่นหมอง

เคียงประคองอยู่บนแท่นแผ่นศิลา

ด้วยแววจักษุหายทั้งซ้ายขวา

จะใคร่ด่าให้ระยำด้วยคำพาล

จึงอุบายวิงวอนด้วยอ่อนหวาน

ไม่ต้องการที่จะแกล้งมาแปลงกาย

เจ้าเป็นยักษ์อยู่ในวนชลสาย

เจ้าคิดร้ายลักพาเอามาไย

หรือว่ามีข้อประสงค์ที่ตรงไหน

ผิดวิสัยที่จะอยู่เป็นคู่ควรฯ


สุนทรภู่








๏ สุนทรภู่ เป็นชาวเมืองแกลง จังหวัดระยอง

เกิดเมื่อ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๒๙ ในสมัยรัชกาลที่ ๑

พ่อเป็นชาวเมืองแกลงแม่เป็นชาวเมืองใดไม่ปรากฎได้มาอยู่กินกันที่กรุงเทพฯ

เมื่อสุนทรภู่อายุได้ ๒ ขวบ พ่อและแม่ได้หย่าร้างกัน พ่อกลับไปบวชที่เมืองแกลง

ส่วนแม่เข้าไปเป็นพระนมในวังหลัง สุนทรภู่ได้ตามแม่เข้าวังด้วย

๏ ในเยาว์วัยสุนทรภู่ได้เรียนหนังสือที่วัดชีปะขาว (วัดศรีสุดาราม ) บางกอกน้อย ฝั่งธนบุรี

ต่อมาได้เป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ จนมีชื่อเสียงในการแต่งกลอน

ตอนอยู่ในวังได้ลอบรักกับสาวชาววังชื่อจัน เลยถูกกริ้วต้องเวรจำทั้งสองคน



๏ พอพ้นโทษถูกปล่อยเป็นอิสระจึงไปเยี่ยมบิดาที่เมืองแกลง

และได้เริ่มแต่งกลอน เรียกว่า นิราศเมืองแกลง เป็นเรื่องแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๐

ต่อมาแต่งงานกับนางจันคู่ทุกข์คู่ยากนั่นเอง

แต่อยู่ด้วยกันไม่นานเพราะสุนทรภู่ชอบดื่มเหล้าและเจ้าชู้เมียจึงทิ้งไป

จากนั้นสุนทรภู่ก็ได้มีเมียอีกหลายคน แต่ก็อยู่กันไม่ยืด

เมียที่สุนทรภู่รักที่สุด คือนางจัน เมียคนแรก

เมื่อตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปที่พระบาท จังหวัดสระบุรี

จึงได้แต่งนิราศพระบาทขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่สองในปลายรัชกาลที่ ๑



๏ เรื่องเหล้าทำให้สุนทรภู่ต้องตกระกำลำบาก

แต่เนื่องจากเป็นผู้มีฝีมือในการแต่งกลอนจึงพออยู่ได้

ในสมัยรัชกาลที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๕๒ ทรงโปรดปรานมากได้รับราชการ

จนกระทั่งได้รับการแต่งตั้งเป็น ขุนสุนทรโวหาร อยู่ในกรมพระอาลักษณ์

ตราบจนกระทั่งสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยสวรรคต ใน พ.ศ. ๒๓๖๗

ชีวิตของสุนทรภู่ในรัชกาลนี้ นับว่ารุ่งโรจน์มาก มียศ มีฐานะ มีบรรดาศักดิ์



๏ ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ พ.ศ. ๒๓๖๗ สุนทรภู่ถึงคราตกอับ ถูกถอดยศบรรดาศักดิ์

แล้วออกบวชที่วัดราชบูรณะ ใน พ.ศ. ๒๓๖๙ และย้ายไปอยู่หลายวัด

ในที่สุดต้องสึกออกมาพายเรือขายของ และแต่งกลอนขายไปด้วย

เพราะตอนบวชได้ไปอยุธยาบ้าง สุพรรณบุรีบ้าง จึงได้แต่งนิราศไว้ ๓ - ๔ เรื่อง

ได้แก่ นิราศภูเขาทอง โคลงนิราศสุพรรณบุรี นิราศวัดเจ้าฟ้า

และเมื่อตอนบวชอยู่พระองค์เจ้าลักขณานุคุณ พระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ ๓

ทรงโปรดสักวา ได้รับสั่งให้สุนทรภู่ไปบอกสักวาอยู่เป็นประจำ ได้ทรงอุดหนุนเมตตา

จนมีความเป็นอยู่ดีขึ้นอีกครั้งหนึ่ง สุนทรภู่จึงแต่งนิราศอิเหนาขึ้นถวาย

แต่เมื่อพระองค์เจ้าลักขณานุคุณสิ้นพระชนม์ สุนทรภู่ก็ตกอับเหมือนเดิม



๏ ต่อมาพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

คือกรมหมื่นอัปปสรสุดาเทพ ได้ทรงหนังสือเรื่องพระอภัยมณีที่สุนทรภู่แต่งไว้

จึงโปรดสั่งให้สุนทรภู่แต่งต่อถวายอีก และทรงเกื้อหนุนสุนทรภู่สืบต่อมา



๏ ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ พระเจ้าน้องยาเธอของพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔

ทรงเกื้อหนุนสุนทรภู่มาด้วยอีกผู้หนึ่ง ประมาณ พ.ศ. ๒๓๙๔

ครั้นเมื่อได้ตามเสด็จพระปิ่นเกล้าไปนมัสการพระปฐมเจดีย์ เมืองนครปฐม

สุนทรภู่จึงได้แต่งนิราศพระปฐม ขึ้นอีกเรื่องหนึ่ง

ต่อมาถูกรับสั่งให้ไปหาสิ่งของที่เมืองเพชรบุรี

ก็ได้แต่ง นิราศเมืองเพชรบุรี ซึ่งเป็นเรื่องสุดท้ายของสุนทรภู่

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งสุนทรภู่

จินตกวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์เป็น พระสุนทรโวหาร

ตำแหน่งเจ้ากรมพระอาลักษณ์ ฝ่ายพระราชวัง

ได้ความสุขมาจนสิ้นชีวิต เมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๙๘

ดำรงชีพอยู่อย่างทุกข์บ้างสุขบ้างได้นานถึงเกือบ ๗๐ ปี



๏ พระสุนทรโวหาร เป็นกวีอยู่นานถึง ๔ รัชสมัย มีบุตรที่รู้จักชื่อกันอยู่ ๓ คนชื่อ พัด ตาบ และนิจ

อนุสรณ์ชิ้นเอกของพระสุนทรโวหาร หรือสุนทรภู่ คือ การเอานิยายมาเขียนกลอนเป็นคนแรก

เช่นเรื่องโคบุตร และเรื่องพระอภัยมณี



๏ สำหรับกลอนของพระสุนทรโวหาร เป็นกวีผู้เริ่มเล่นสัมผัสขึ้นในกลอน

ทั้งสัมผัสในและสัมผัสอักษร ทำให้กลอนมีความไพเราะเพราะพริ้งไปทุกเรื่อง



๏ ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร

ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน

แม้เกิดในใต้หล้า สุ ธ า ธ า ร

ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา ๚

จากเรื่อง พระอภัยมณี






เพราะสำเนียงเสนาะในฤทัยหวน

ละมุนม้วนเมียงหมอบแล้วยอบตัว

เป็นสาวพรหมจารีไม่มีผัว

พระมากลัวผู้หญิงด้วยสิ่งใด

เห็นเขาง้อแล้วยิ่งว่าไม่ปราศรัย

ร้อนเหมือนใจจะขาดประหลาดนัก

เข้าแอบอิงเอนทับลงกับตัก

ยิ่งพลิกผลักก็ยิ่งแอบแนบอุราฯ





มิได้คิดอินังชังน้ำหน้า

แล้วเดือดด่าว่าอีกาลีลาม

ยังขืนปลอบปลุกปล้ำอีส่ำสาม

แพศยาบ้ากามกวนอารมณ์

อย่าหมายมาดว่ากูจะสู่สม

แล้วทุดถ่มน้ำลายไม่ใยดีฯ

พระจงโปรดเกล้าน้องอย่าหมองศรี

ก็ตามทีเถิดเมียไม่เสียใจ

กระไรหม่อมจะตั้งปึ่งไปถึงไหน

ทำบ้าใบ้เบือนหนีไปทีเดียว

ยังว่ามีน้ำใจจะไม่เกี่ยว

พลางกลมเกลียวกอดรัดกษัตราฯ









๏ พระเหวี่ยงวัดขัดใจมิให้ต้อง

มันดื้อด้านทานทนพ้นปัญญา

อะไรเจ้าเฝ้ากวนกันจู้จี้

ขอพักนอนเสียสักหน่อยถอยออกไป

แล้วเอนองค์ลงบนแท่นแสนระทด

โอ้สงสารป่านฉะนี้ศรีสุวรรณ

พอตื่นขึ้นยามเย็นไม่เห็นพี่

ได้เห็นแต่เจ้าพราหมณ์ทั้งสามนาย

นิจจาเอ๋ยเคยเห็นกันพี่น้อง

อียักษ์ลักพี่ลงมาในสาคร

พระนึกนึกแล้วสะอึกสะอื้นไห้

ซบพระพักตร์อยู่บนแท่นแผ่นศิลา





๏ อีนางยักษ์ฟังสะอื้นค่อยชื่นจิต

เข้าอิงแอบแนบองค์พระทรงชัย

คิดว่าหลับกลับปลุกขึ้นโลมลูบ

ค่อยยกหัตถ์ภูวนาถพาดอุรา

เห็นทรงศักดิ์ผลักพลิกทำหยิกเย้า

จะกอดไว้ไม่วางเหมือนอย่างนี้





๏ พระแค้นคำซ้ำด่าอีหน้าด้าน

น่าอดสูกูได้ทำไมมึง

ทั้งเหม็นสาบเหม็นสางเหมือนอย่างศพ

มายั่วเย้าเฝ้าเบียดเกลียดจะตาย





๏ อีนางยักษ์ควักค้อนแล้วย้อนว่า

ทีขอจูบแต่พอถูกจมูกครือ

เมื่ออยู่สองต่อสองในห้องหับ

ถึงโกรธขึ้งอย่างไรก็ไม่ฟัง





๏ พระสุดแสนแค้นเคืองรำคาญจิต

ให้อักอ่วนป่วนใจไม่สบาย

จะยั่งยืนขืนขัดตัดสวาท

ก็จะสะบักสะบอมตรอมฤทัย

จึงบัญชาว่านี่แน่นางยักษ์

อันเชื้อชาติอสุรินทร์ย่อมกินคน

ไปข้างหน้าถ้าเคืองน้ำใจเจ้า

แม้นให้สัตย์ปฏิญาณสาบานตัว



จนเหน็ดเหนื่อยเมื่อยสองพระหัตถา

จึงแกล้งว่าวิงวอนให้อ่อนใจ

ข้าจะหนีหน่ายนางไปข้างไหน

สบายใจจึงค่อยมาพูดจากัน

โศกกำสรดซบทรงกันแสงศัลย์

อยู่ด้วยกันหลัดหลัดมาพลัดพราย

จะโศกีโหยหาน่าใจหาย

เขาผันผายลับตาจะอาวรณ์

มาเที่ยวท่องบุกเดินเนินสิงขร

จะทุกข์ร้อนว้าเหว่อยู่เอกา

ชลเนตรหลั่งไหลทั้งซ้ายขวา

ทรงโศกากำสรดระทดใจฯ





สำคัญคิดแว่วว่าพระปราศรัย

เห็นเธอไม่ผินผันจำนรรจา

ประจงจูบปรางซ้ายแล้วย้ายขวา

ในกามาปั่นป่วนให้ยวนยี

มาลูบคลำทำเขาแล้วเบือนหนี

แค้นนักหนาฟ้าผี่เถอะดื้อดึงฯ





ใครจะร่านเหมือนเช่นนี้ไม่มีถึง

มาเคล้าคลึงโลมลูบจูบผู้ชาย

ไม่น่าคบน่ารักยักษ์ฉิบหาย

ไม่มีอายมีเจ็บเท่าเล็บมือฯ





ส่วนร่ำด่ากระนั้นได้เขาไม่ถือ

ยิ่งอึงอื้อบ่นว่าเป็นน่าชัง

จะบังคับมิให้ใครกลุ้มใจมั่ง

พลางเข้านั่งแอบข้างไม่ห่างกายฯ





เป็นสุดคิดสุดที่จะหนีหาย

มันกอดก่ายเซ้าซี้พิรี้พิไร

ไม่สังวาสเชยชิดพิสมัย

ต้องแข็งใจกินเกลือด้วยเหลือทน

จะร่วมรักกันก็เห็นไม่เป็นผล

มาแปดปนเป็นมิตรเราคิดกลัว

จะกินเราเสียไม่คิดว่าเป็นผัว

ให้หายกลัวแล้วจะอยู่เป็นคู่ครองฯ



นิราศเมืองแกลง








นิราศเมืองแกลง เป็นนิราศเรื่องแรกของสุนทรภู่ แต่งขึ้นในปี พ.ศ.๒๓๔๙ หลังจากพ้นโทษออกมา เมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคต

สุนทรภู่ไปเมืองแกลงด้วยสาเหตุใดไม่ทราบชัด

บางท่านว่าสุนทรภู่จะไปบวชเพื่อสะเดาะเคราะห์ ประกอบกับอายุครบบวชพอดี แต่เมื่ออ่านในนิราศ ก็ไม่ปรากฎในที่ใดว่าท่านไปบวช

เป็นแต่เพียงมีความตอนหนึ่งว่า:

"ทั้งถือศีลกินเพลเหมือนเช่นบวช เย็นเย็นสวดศักราชศาสนา"

แสดงว่าท่านไม่ได้บวช บางท่านว่าสุนทรภู่ไปหาบิดาเพื่อขอเงินมาแต่งงาน

ก็ยิ่งน่าประหลาดใจ เพราะท่านบิดาบวชอยู่ จะเอาเงินที่ไหนมาให้สุนทรภู่

ทั้งมารดาของท่าน ก็เป็นนางนมพระธิดาของพระองค์เจ้าจงกลอยู่ น่าจะช่วยเรื่องเงินทองได้มากกว่า

นอกจากนี้ ยังมีความปรากฏในนิราศตอนหนึ่งว่า:

"จะกรวดน้ำคว่ำขันจนวันตาย แม้เจ้านายท่านไม่ใช้แล้วไม่มา"

ทำให้ต้องคิดหนักขึ้นไปอีกว่า ท่านไปด้วยกิจธุระของเจ้านายท่านใดหรือไม่

หรือเจ้านายท่านจะใช้ให้สุนทรภู่ไปหาบิดาด้วยเรื่องอะไร นักศึกษางานของท่านพากันคิดไปได้ร้อยแปด

จะอย่างไรก็ดี นิราศเรื่องนี้ก็สนุกสนานน่าติดตามยิ่งนัก

ท่านบรรยายถึงเส้นทางการเดินทาง ผ่านสถานที่ต่างๆ แล้วก็พร่ำพรรณนาถึงแม่จันอยู่มิได้ขาด

ซึ่งหากสังเกตเปรียบเทียบกับนิราศเรื่องหลังๆ ของท่านจะเห็นได้ชัดว่า มุมมองของท่านที่มีต่อโลก เปลี่ยนไปอย่างไร...

เรามาเดินทางสู่เมืองแกลง ไปพร้อมกับท่านสุนทรภู่ในบัดนี้เถิด

๏ โอ้สังเวชวาสนานิจจาเอ๋ย

จะมีคู่มิได้อยู่ประคองเชย ต้องละเลยดวงใจไว้ไกลตา

ถึงทุกข์ใครในโลกที่โศกเศร้า ไม่เหมือนเราภุมรินถวิลหา

จะพลัดพรากจากกันไม่ทันลา ใช้แต่ตาต่างถ้อยสุนทรวอน

โอ้จำใจไกลนุชสุดสวาท จึงนิราศเรื่องรักเป็นอักษร

ให้เห็นอกตกยากเมื่อจากจร ไปดงดอนแดนป่าพนาวัน

กับศิษย์น้องสองนายล้วนชายหนุ่ม น้อยกับพุ่มเพื่อนไร้ในไพรสัณฑ์

กับนายแสงแจ้งทางกลางอารัญ จะพากันแรมทางไปต่างเมืองฯ



๏ ถึงยามสองล่องลำนาวาเลื่อน พอดวงเดือนดั้นเมฆขึ้นเหลืองเหลือง

ถึงวัดแจ้งแสงจันทร์จำรัสเรือง แลชำเลืองเหลียวหลังหลั่งน้ำตา

เป็นห่วงหนึ่งถึงชนกที่ปกเกล้า จะแสนเศร้าครวญคอยละห้อยหา

ทั้งจากแดนแสนห่วงดวงกานดา โอ้อุรารุ่มร้อนอ่อนกำลัง

ถึงสามปลื้มพี่นี้ร่ำปล้ำแต่ทุกข์ สุดจะปลุกใจปลื้มให้ลืมหลัง

ขออารักษ์หลักประเทศนิเวศน์วัง เทพทั้งเมืองฟ้าสุราลัย

ขอฝากน้องสองรามารดาด้วย เอ็นดูช่วยปกครองให้ผ่องใส

ตัวข้าบาทจะนิราศออกแรมไพร ให้พ้นภัยคลาดแคล้วอย่าแพ้วพาน

ถึงสำเพ็งเก๋งตั้งริมฝั่งน้ำ แพประจำจอดเรียงเคียงขนาน

มีซุ้มซอกตรอกนางเจ้าประจาน ยังสำราญร้องขับไม่หลับลง

โอ้ธานีศรีอยุธยาเอ๋ย นึกจะเชยก็ได้ชมสมประสงค์

จะลำบากยากแค้นไปแดนดง เอาพุ่มพงเพิงเขาเป็นเหย้าเรือนฯ

๏ ถึงย่านยาวดาวคะนองคะนึงนิ่ง ยิ่งดึกยิ่งเสียใจใครจะเหมือน

พระพายพานซ่านเสียวทรวงสะเทือน จนเดือนเคลื่อนคล้อยดงลงไรไร

โอ้ดูเดือนเหมือนดวงสุดาแม่ กระต่ายแลเหมือนฉันคิดพิสมัย

เห็นแสงจันทร์อันกระจ่างค่อยสร่างใจ เดือนครรไลลับตาแล้วอาวรณ์

ถึงอารามนามชื่อวัดดอกไม้ คิดถึงไปแนบทรวงดวงสมร

หอมสุคนธ์ปนกายขจายจร โอ้ยามนอนห่างนางระคางคาย

ถึงบางผึ้งผึ้งรังก็รั้งร้าง พี่ร้างนางร้างรักสมัครหมาย

มาแสนยากฝากชีพกับเพื่อนชาย แม่เพื่อนตายมิได้มาพยาบาล

ถึงปากลัดแลท่าชลาตื้น ดูเลื่อมลื่นเลนลากลำละหาน

เขาแจวจ้วงล่วงแล่นแสนสำราญ มาพบบ้านบางระเจ้ายิ่งเศร้าใจ

อนาถนิ่งอิงเขนยคะนึงหวน จนจวบจวนแจ่มแจ้งปัจจุสมัย

ศศิธรอ่อนอับพยับไพ ถึงเซิงไทรศาลพระประแดงแรง

ขออารักษ์ศักดิ์สิทธิ์ที่สิงศาล ลือสะท้านอยู่ว่าเจ้าห้าวกำแหง

ข้าจะไปทางไกลถึงเมืองแกลง เจ้าจงแจ้งใจภัคนีที

ฉันพลัดพรากจากจรเพราะร้อนจิต ใช่จะคิดอายอางขนางหนี

ให้นิ่มน้องครองรักไว้สักปี ท่านสุขีเถิดข้าขอลาไป

พอแจ่มแจ้งแสงเงินเงาระยับ ดาวเดือนดับเด่นดวงพระสุริย์ใส

ถึงปากช่องคลองสำโรงสำราญใจ พอน้ำไหลขึ้นเช้าก็เข้าคลอง

เห็นเพื่อนเรือเรียงรายทั้งชายหญิง ดูก็ยิ่งทรวงช้ำเป็นน้ำหนอง

ไม่แม้นเหมือนคู่เชยเคยประคอง ก็เลยล่องหลีกมาไม่อาลัย

กระแสชลวนเชี่ยวเรือเลี้ยวลด ดูค้อมคดขอบคุ้งคงคาไหล

แต่สาชลเจียวยังวนเป็นวงไป นี่หรือใจที่จะตรงอย่าสงกา

ถึงด่านทางกลางคลองข้างฝั่งซ้าย ตะวันฉายแสงส่องต้องพฤกษา

ออกสุดบ้านถึงทวารอรัญวา เป็นทุ่งคาแฝกแขมขึ้นแกมกัน ลมระริ้วปลิวหญ้าคาระยาบ ระเนนนาบพลิ้วพลิกกระดิกหัน

ดูโล่งลิ่วทิวรุกขะเรียงรัน เป็นเขตคันขอบป่าพนาลัยฯ



๏ ถึงทับนางวางเวงฤทัยวับ เห็นแต่ทับชาวนาอยู่อาศัย

นางชาวนาก็ไม่น่าจะชื่นใจ คราบขี้ไคลคร่ำคร่าดังทาคราม

อันนางในนคราถึงทาสี ดีกว่านางทั้งนี้สักสองสาม

โอ้พลัดพรากจากบุรินแล้วสิ้นงาม ยิ่งคิดความขวัญหายเสียดายกรุง

ถึงบางพลีมีเรือนอารามพระ ดูระกะดาษทางไปกลางทุ่ง

เป็นเลนลุ่มลึกเหลวเพียงเอวพุง ต้องลากจุงจ้างควายอยู่รายเรียง

ดูเรือแพแออัดอยู่ยัดเยียด เข้าเบียดเสียดแทรกกันสนั่นเสียง

แจวตะกูดเกะกะปะกระเชียง บ้างทุ่มเถียงโดนดุนกันวุ่นวาย

โอ้เรือเราคราวเข้าไปติดแห้ง เห็นนายแสงผู้เป็นใหญ่ก็ใจหาย

นั่งพยุงตุ้งก่านัยน์ตาลาย เห็นวุ่นวายสับสนก็ลนลาน

น้อยกับพุ่มหนุ่มตะกอถ่อกระหนาบ เสียงสวบสาบแทรกไปด้วยใจหาญ

นายแสงร้องรั้งไว้ไม่ได้การ เอาถ่อกรานโดยกลัวจนตัวโกง

สงสารแสงแข็งข้อไม่ท้อถอย พุ่มกับน้อยแทรกกลางเสียงผางโผง

ถ้วยชามกลิ้งฉิ่งฉ่างเสียงกร่างโกรง นาวาโคลงโคลนเลอะตลอดแคมฯ

๏ จนตกลึกล่วงทางถึงบางโฉลง เป็นทุ่งโล่งลานตาล้วนป่าแขม

เหงือกปลาหมอกอกกกับกุ่มแกม คงคาแจ่มเค็มจัดดังกัดเกลือ

ถึงหัวป่าเห็นป่าพฤกษาโกร๋น ดูเกรียนโกรนกรองกรอยเป็นฝอยเฝือ

ที่กิ่งก้านกรานกีดประทุนเรือ ลำบากเหลือที่จะร่ำในลำคลอง

ถึงหย่อมย่านบ้านไร่อาลัยเหลียว สันโดษเดียวมิได้พบเพื่อนสนอง

เขารีบแจวมาในนทีทอง อันบ้านช่องมิได้แจ้งแห่งตำบล

ถึงคลองขวางบางกระเทียมสะท้านอก โอ้มาตกอ้างว้างอยู่กลางหน

เห็นแต่หมอนอ่อนแอบอุระตน เพราะความจนเจียวจึงจำระกำใจ

จะเหลียวซ้ายแลขวาก็ป่าแสม ตะลึงแลปูเปี้ยวเที่ยวไสว

ระหริ่งเรื่อยเฉื่อยเสียงเรไรไพร ฤทัยไหวแว่วว่าพะงางาม

ถึงชะแวกแยกคลองสองชะวาก ข้างฝั่งฟากหัวตะเข้มีมะขาม

เข้าสร้างศาลเทพาพยายาม กระดานสามแผ่นพิงไว้บูชา

ตะลึงแลแต่ล้วนลูกจระเข้ โดยคะเนมากมายทั้งซ้ายขวา

สักสองร้อยลอยไล่กินลูกปลา เห็นแต่ตากับจมูกเหมือนตุ๊กแก

โอ้คลองขวางทางแดนแสนโสทก ดูบนบกก็แต่ล้วนลิงแสม

เลียบตลิ่งวิ่งตามชาวเรือแพ ทำลอบแลหลอนหลอกตะคอกคน

โบราณท่านผูกถูกทุกสิ่ง เขาว่าลิงจองหองมันพองขน

ทำหลุกหลิกเหลือกลานพาลลุกลน เขาด่าคนจึงว่าลิงโลนลำพองฯ



๏ ถึงชะวากปากคลองเป็นสองแพร่ง น้ำก็แห้งสุริยนก็หม่นหมอง

ข้างซ้ายมือนั้นแลคือปากตะครอง ข้างขวาคลองบางเหี้ยทะเลวน

ประทับทอดนาวาอยู่ท่าน้ำ ดูเรียงลำเรือรายริมไพรสณฑ์

เขาหุงหาอาหารให้ตามจน โอ้ยามยลโภชนาน้ำตาคลอ

จะกลืนข้าวคราวโศกในทรวงเสียว เหมือนขืนเคี้ยวกรวดแกลบให้แสบศอ

ต้องเจือน้ำกล้ำกลืนพอกลั้วคอ กินแต่พอดับลมด้วยตรมใจ

พอฟ้าคล้ำค่ำพลบลงหรบรู่ ยุงออกฉู่ชิงพลบตบไม่ไหว

ได้รับรองป้องกันเพียงควันไฟ แต่หายใจมิใคร่ออกด้วยอบอาย

โอ้ยามยากจากเมืองแล้วลืมมุ้ง มากรำยุงเวทนาประดาหาย

จะกรวดน้ำคว่ำขันจนวันตาย แม้เจ้านายท่านไม่ใช้แล้วไม่มา

พอน้ำตึงถึงเรือก็รีบล่อง เข้าในคลองคึกคักกันนักหนา

ด้วยมืดมัวกลัวตอต้องรอรา นาวามาเรียงตามกันหลามทาง

ถึงบางบ่อพอจันทร์กระจ่างแจ้ง ทุกประเทศเขตแขวงนั้นกว้างขวาง

ดูดาวดาษกลาดฟ้านภาภางค์ วิเวกทางท้องทุ่งสะท้านใจ

ดูริ้วริ้วลมปลิวที่ปลายแฝก ทุกละแวกหวาดหวั่นอยู่ไหวไหว

รำลึกถึงขนิษฐายิ่งอาลัย เช่นนี้ได้เจ้ามาด้วยจะดิ้นโดย

เห็นทิวทุ่งวุ้งเวิ้งให้หวั่นหวาด กัมปนาทเสียงนกวิหคโหย

ไหนจะต้องละอองน้ำค้างโปรย เมื่อลมโชยชื่นนวลจะชวนเชย

โอ้นึกนึกแล้วก็น่าน้ำตาตก ด้วยแนบอกมิได้แนบแอบเขนย

ได้หมอนข้างต่างน้องประคองเกย เมื่อไรเลยจะได้คืนมาชื่นใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น